เงินสดย่อย และเงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร❓
เงินสดย่อย และเงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร❓
เงินสดย่อย และเงินกู้ยืมธนาคารมีลักษณะ และวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่คล้ายๆ กัน เพราะเงินสดย่อย และเงินกู้ยืมกรรมการเป็นเงินเบิกที่คนภายในกิจการต้องนำไปใช้จ่าย แต่ในการทำบัญชีเงินสดทั้งสองแบบนั้นมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน ดังนั้นในวันนี้ เราจะพานักธุรกิจมือใหม่ทุกคนมาทำความเข้าใจกับเงินสดย่อย และเงินกู้ยืมกรรมการกัน
🔸เงินสดย่อยคืออะไร?
เงินสดย่อยคือเงินสดที่ถูกนำมาใช้จ่ายภายในกิจการ ที่ทางกิจการกำหนดไว้ให้พนักงานสามารถขอเบิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับงานในส่วนต่างๆ ได้ โดยในการใช้จ่าย เงินสดย่อยจะเป็นเงินที่มีจำนวนไม่มากที่จำเป็นต้องใช้ระหว่างวัน อย่างเช่นค่าเดินทางไปพบลูกค้า ค่าอุปกรณ์ภายในสำนักงาน ค่าส่งเอกสาร พิมพ์เอกสาร ถ่ายเอกสาร หรือจะเป็นค่าอาหารพิเศษสำหรับให้กำลังใจพนักงานก็ได้เช่นกัน
ทั้งนี้จุดเด่นของเงินสดย่อยคือเงินที่นำมาใช้จ่ายได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เจ้านาย หรือผู้บริหารเซ็นอนุมัติก่อนทำการจ่ายเงิน พนักงานสามารถใช้เงินสดย่อยได้ทันที แล้วทำเรื่องขอเบิกเงิ
🔸วิธีจัดการกับเงินสดย่อยที่จะใช้ภายในกิจการ
การจัดการกับเงินสดย่อยที่คุณจะต้องนำมาใช้ในกิจการ ก่อนอื่นให้คุณคำนวณงบประมาณเงินสดย่อยที่จะต้องใช้ในแต่ละวัน และประเมินออกมาให้เหมาะสมกับขนาดของกิจการ โดยหากเป็นกิจการขนาดเล็กทั่วไป อาจกำหนดจำนวนเงินสดไว้ที่ 5,000 – 10,000 บาทต่อสัปดาห์ หรือในหนึ่งเดือนก็ได้ตามความเหมาะสม
เมื่อได้จำนวนเงินสดย่อยที่ประมาณการไว้แล้ว ต่อมาให้กำหนดความรับผิดชอบในการถือเงินสดย่อย ในส่วนนี้จะให้พนักงานบัญชี หรือเจ้าของกิจการถือเงินสดย่อยไว้ก็ได้ เพื่อความเป็นระเบียบและสะดวกในการเบิกจ่าย และจัดทำเอกสารต่างๆ คุณควรกำหนดวันที่ที่สามารถทำการเบิกได้ เช่น เบิกทุกวันอังคาร เบิกทุกวันที่ 15 ของเดือน หรือเบิกทุกวันที่ 30 ของเดือน ซึ่งในการเบิก พนักงานจะต้องนำเอกสารหลักฐานอย่างใบเสร็จพร้อมใบเบิกเงินสดย่อยมายื่นให้ผู้ถือเงินสดย่อย เพื่อทำการเบิกเงิน และพนักงานบัญชีจะต้องเก็บเอกสารไว้เป็นหลักฐานทางบัญชี
🔸เงินสดย่อยมีผลในกิจการอย่างไร?
– เงินสดย่อยจะช่วยลดภาระหน้าที่เล็กน้อยในกิจการลง ลดความล่าช้าในการเบิกเงินเพื่อใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
– ป้องกันการนำเงินสดไปใช้ส่วนตัว เพราะเงินสดย่อยจะสามารถเบิกได้เมื่อมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ภายในกิจการ
– ช่วยให้การทำบัญชีง่าย และเป็นระเบียบมากขึ้น เพราะมีการแบ่งแยกหน้าที่ของเงินในแต่ละส่วนชัดเจน
– ลดความเสี่ยงในการทำเงินสูญหาย หรือผิดพลาดในการจัดเก็บ เพราะมีผู้ถือเงินสดแค่คนเดียว และจำนวนเงินก็ไม่ได้มากนัก
🔸เงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร?
เงินกู้ยืมกรรมการ สามารถเกิดได้ 2 วิธีหลักๆ คือ เป็นเงินของกิจการที่ให้เจ้าของกิจการยืม หรือเป็นเงินของเจ้าของกิจการเอามาให้กิจการกู้ แต่ส่วนใหญ่แล้วพบว่า เจ้าของกิจการมีการเบิก ยืม หรือนำเงินไปใช้ โดยไม่รู้ว่าเอาไปทำอะไร เพราะไม่ได้นำเอกสารหลักฐานการใช้เงินกลับมาด้วย ต่างจากเงินสดย่อยที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่ามีไว้ทำอะไร และมีหลักฐานการขอเบิกไปใช้จริง
🔸ทำไมถึงเกิดบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการ
มีหลายกรณีเช่น
- ตอนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่ได้จดทะเบียนด้วยเงินทุนที่มีอยู่จริง เช่น มีเงินทุนเพียง 250,000 บาท แต่ขอจดทะเบียนด้วยทุน 1,000,000 บาท ตามที่นิยมจดกัน ทำให้เจ้าของกิจการมีสถานะติดหนี้กิจการ 750,000 บาท ในบัญชีของกิจการ (มูลค่าต่อหุ้นขั้นต่ำที่จดทะเบียนตามกฎหมายเท่ากับ 5 บาท)
- เจ้าของกิจการต้องการนำเงินมาใช้ส่วนตัว จึงนำเงินของกิจการออกมาใช้โดยไม่มีเอกสารและหลักฐานว่าเอาไปใช้ทำอะไร
- กิจการขาดเงินทุนหมุนเวียน จึงกู้ยืมเงินของเจ้าของกิจการมาใช้
- มีรายได้มากแต่เลี่ยงการลงบัญชีรายได้ของกิจการ เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง
- เป็นรายการปรับปรุงทางบัญชีให้สมดุล
🔸ป้องกันการเกิดบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการอย่างไรดี?
– จดทะเบียนบริษัทด้วยเงินทุนตามจริง
– แยกค่าใช้จ่ายภายในกิจการ และค่าใช้จ่ายส่วนตัวออกจากกัน
– จ่ายค่าใช้จ่ายภายในกิจการด้วยเงินภายในกิจการ ไม่ควรนำเงินส่วนตัวมาใช้ภายในกิจการ
– ไม่นำเงินภายในกิจการไปใช้ส่วนตัว แม้กิจการได้ผลกำไรจำนวนมาก หากต้องการนำไปใช้ควรทำให้ถูกต้องโดยการจ่ายเป็นเงินเดือน เงินปันผล หรือค่าตอบแทน
– ในกรณีที่เจ้าของกิจการให้กิจการกู้ยืมจะต้องทำหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้จริงขึ้นมาอย่างเช่นหนังสือสัญญาระบุยอดเงินกู้ยืม และดอกเบี้ยเงินกู้ให้ครบถ้วน
🔸เอาเงินกิจการไปใช้อย่างไรให้ถูกต้อง
- จดทะเบียนบริษัท ด้วยเงินทุนตามจริงที่มี ไม่ใช่ทุนยอดนิยม 1,000,000 บาท
- ต้องแยกเงินส่วนตัวกับเงินกิจการออกจากกันอย่างชัดเจน เงินสำหรับกิจการให้เปิดบัญชีธนาคารในนามกิจการ ไม่ใช่ในนามของเจ้าของกิจการ
- เมื่อมีค่าใช้จ่ายของกิจการ ก็ควรจะจ่ายจากบัญชีธนาคารของกิจการ หรือเงินสดย่อย แทนที่จะจ่ายจากเงินส่วนตัวของเจ้าของกิจการ
- ไม่แนะนำให้เจ้าของกิจการถอนเงินตามอัธยาศัยโดยไม่มีที่มาที่ไป หากกิจการมีรายได้มากและอยากนำเงินไปใช้ กระบวนการที่ถูกต้องคือ ทำให้เป็นรายได้ของตัวเอง โดยการจ่ายเป็นเงินเดือน เงินปันผล หรือค่าตอบแทน ที่มีเอกสารรับรอง
- หากเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนมีการนำเงินส่วนตัวมาให้ยืมเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ ควรทำหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้จริงขึ้น เช่น หนังสือสัญญาระบุยอดเงินในการกู้ยืม ระบุรายการดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องชำระให้ครบถ้วน
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio
Comments