top of page

12 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเปิดตลาดออนไลน์✨


12 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเปิดตลาดออนไลน์✨  ในปัจจุบันนี้การแข่งขันทางด้านธุรกิจออนไลน์นั้นสูงมาก ใครๆ ก็อยากลงทุนเปิดธุรกิจเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น แต่การจะเปิดธุรกิจออนไลน์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โอกาสที่จะสำเร็จก็มีโอกาสจะผิดพลาดล้มเหลวก็ต้องมีเช่นกัน ส่วนใหญ่ที่ผิดพลาดล้มเหลวกันก็เกิดจากความไม่ศึกษาให้รอบคอบเสียก่อน และมีความใจร้อนอยากที่จะเปิดธุรกิจมากเกินไปจนลืมคำนึงถึงผลกระทบที่จะได้รับ วันนี้ เราจึงมีเรื่องที่ควรรู้ก่อนเริ่มเปิดตลาดออนไลน์ มาให้ทุกคนได้ศึกษาก่อนจะเริ่มเปิดธุรกิจกัน  ✨สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มเปิดธุรกิจออนไลน์ 1. การมีจุดขายที่แตกต่าง เริ่มแรกสิ่งที่ทุกควรรู้ก่อนเริ่มเปิดธุรกิจนั้นก็คือ การหาจุดขายที่มีความแตกต่างจากผู้อื่น หรือบริการที่มีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น ที่ยังสามารถแก้ปัญหา และสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้าได้ตรงจุด ซึ่งมีปัจจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวแปรสำคัญ ดังนั้นธุรกิจตั้งต้นใหม่ต้องสร้างจุดขายสินค้าให้แตกต่างจากคู่แข่ง (Product Differentiation) ต้องมี Concept ที่ชัดเจน สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน และสิ่งสำคัญคือ ต้องเริ่มจากสิ่งที่ถนัดหรือสนใจ เพราะการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอาจต้องใช้เวลา ใช้ความอดทนในการดำเนินธุรกิจไปสู่เป้าหมายจนเกิดความเชี่ยวชาญ  2. หากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เมื่อเรานั้นได้มีการหาจุดขายที่แตกต่างกับผู้อื่นแล้วสิ่งที่เราต้องทำต่อมาเลยก็คือเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับ Concept ธุรกิจที่เราจะเปิด การที่เราได้ศึกษาว่าลูกค้านั้นสนใจในผลิตภัณฑ์อะไร หรือมีความชื่นชอบให้เรื่องใด มีพฤติกรรมอย่างไร สนใจในด้านใด คือลายแทงไปสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะการทำธุรกิจยุคนี้ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล  ในความรู้พื้นฐานที่เราต้องมีคือ เราศึกษาก่อนว่าของที่เราจะขายนั้นกำลังจะขายให้ใคร โดยจะมีความแตกต่างกับการทำธุรกิจแบบสมัยก่อนที่จะเน้นขายปริมาณที่มาก ขายให้คนทั่วไป (Mass Segmentation) ขณะที่การทำธุรกิจปัจจุบันเน้นการขายสินค้าหรือบริการเพื่อผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ไม่ผลิตเยอะ แต่เน้นสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า (Value Added) ที่สำคัญอาจไม่ต้องมีโรงงานผลิตเอง แต่ใช้การจ้างผลิต (OEM) ที่ประหยัดต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถมุ่งเน้นด้านการตลาด และสร้างแบรนด์ให้เกิดการรับรู้เจาะกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  3. โฟกัสที่ลูกค้า เข้าใจตลาด คนที่คิดจะเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ เกือบร้อยทั้งร้อย รู้อยู่แล้วว่าตัวเองอยากจะขายอะไร ดังนั้น โฟกัสที่ควรให้ความสนใจมากๆ จึงเป็น “ลูกค้า” ว่าคนเหล่านี้เป็นใคร ให้ใช้เวลาศึกษาลักษณะของเขาว่าอายุเท่าไหร่ เพศอะไร อาชีพอะไร มีความสนใจแบบไหน มีรายได้เฉลี่ยเท่าไหร่ ความถี่ในการซื้อสินค้า หรือข้อมูลต่างๆ ที่คิดว่ามีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของพวกเขา  จากนั้นต่อมาก็มาดูที่ “ตลาด” ว่าในตลาดที่คุณกำลังสนใจอยู่นี้ มีคู่แข่งอยู่มากน้อยแค่ไหน พวกเขาทำอะไร ขายยังไง ตั้งราคาที่เท่าไหร่ เพราะอะไร ตลาดนี้น่าลงไปเล่นด้วยไหม ฯลฯ ลิสต์รายชื่อ (ว่าที่) คู่แข่งของคุณออกมา และศึกษาไปทีละเจ้า วิธีการสืบที่ง่ายที่สุดก็คือ เว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของคู่แข่งนั่นเอง  ซึ่งหากใครยังนึกไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่าจะขายอะไร การมองไปที่กลุ่มคนซื้อหรือลูกค้าที่น่าสนใจก็เป็นวิธีการเริ่มต้นที่ไม่เลวเลยเช่นกัน  ข้อควรระวังคือ อย่าให้เวลาที่รายละเอียดยิบย่อยมากเกินไป เพราะจะทำให้เสียเวลาหรือโอกาสในการก้าวไปข้างหน้าหรือเริ่มต้นธุรกิจอย่างจริงจัง เรื่องบางเรื่องคุณสามารถไปเก็บตกเอาทีหลังได้  4. มีแผนธุรกิจ คุณรู้แล้วว่าจะขายอะไร ลูกค้าเป็นใคร ตลาดหรือคู่แข่งเป็นอย่างไรแล้ว ให้นำข้อมูลทั้งหมดที่มีมาสร้างเป็นแผนการที่จะใช้ทำธุรกิจอย่างเป็นรูปเป็นร่าง เพราะการวางแผนธุรกิจเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของความสำเร็จ  แผนธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องหนาเป็นปึก 20 หน้ากระดาษ แต่ควรมีส่วนประกอบสำคัญอย่าง ขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน กรอบเวลาการทำงาน และตัวชี้วัดถึงความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อช่วยให้คุณมองเห็นเส้นทางการเดินหน้าของธุรกิจว่าอยู่ตรงไหนของแผนทั้งหมด หรือมีจุดไหนที่ต้องแก้ไขหรือช่องทางน่าสนใจทางอื่นให้ไปหรือไม่  5. รู้ระดับเงินทุนที่มี เงินทุนหรือเงินลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ยิ่งตั้งเป้าธุรกิจไว้ใหญ่มากเท่าไหร่ ยิ่งต้องรู้รายละเอียดของเม็ดเงินทุนที่มีและการใช้เงินทุนมากขึ้นเท่านั้น เพราะมีโอกาสสูงมากที่ธุรกิจจะเงินทุนหมดก่อนที่จะเริ่มขายของรับเงินจากลูกค้า  โดยเฉพาะธุรกิจที่วางแผนว่าจะเติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจเหล่านี้ส่วนมากจะทดลองสินค้า ทดสอบตลาด และวิจัยหลายอย่างมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก ดังนั้นจึงควรรู้ว่า จะใช้ต้องลงทุนแบบยังไม่ได้เงินคืนในช่วงนี้ หรือภาษาธุรกิจเรียกว่า “เผาเงิน” ได้นานแค่ไหน หรือจะหาเงินทุนเพิ่มได้จากไหนหรืออย่างไรระหว่างช่วงเริ่มต้นนี้ด้วย  เรื่องนี้อาจจะฟังดูเหมือนไกลตัวหรือเลือนรางว่าจะไม่เกิดกับคุณ แต่ถ้าไม่นึกถึงมันเอาไว้เลย พอเกิดเหตุไม่คาดฝันเข้าจริงๆ ส่วนมากมักจะแก้ไขไม่ทัน กลายเป็นเรื่องพลาดอย่างน่าเสียดายไป  6. เห็นคุณค่าของสินค้าและบริการที่ขาย ไม่ว่าคุณขายขนมห่อละ 20 บาท หรืออาหารพรีเมี่ยมกล่องละหลายพันบาท ถ้าตัดสินใจเลือกที่จะขาย คุณต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงคุณค่าและความจำเป็นของสินค้านั้น เพื่อโฆษณาถ่ายทอดให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเห็นภาพเดียวกับคุณให้ได้มากที่สุด หรือพูดแบบภาษาชาวบ้านว่า “อินเนอร์มันต้องได้” ไม่ว่าสิ่งที่ขายจะเป็นสินค้า/บริการที่จำเป็นหรือไม่ก็ตาม  นอกเหนือจากการเข้าใจรายละเอียดสินค้าจะดี เมื่อเจ้าของธุรกิจเข้าใจและสื่อสารออกไปได้ดีแล้ว ความรู้สึก “เชื่อ” ในตัวสินค้ายังเป็นพลังที่สำคัญเป็นพิเศษ ในช่วงการเริ่มต้นการขาย ที่ลูกค้าหรือคนทั่วไปยังไม่เคยได้เห็นสินค้าหรือสัมผัสกับบริการของคุณจริงๆ  สำหรับหลายธุรกิจ การมองเห็นถึงคุณค่ายังมีส่วนในการกำหนดราคาขายด้วย และส่วนมากเมื่อยิ่งเชิดชูคุณค่าก็ยิ่งอัพราคาให้สูงตามไปด้วย  7. เลือกชื่อที่ใช้เป็นชื่อเว็บไซต์ได้ เมื่อตัวธุรกิจมีรูปร่างชัดเจน ก็พร้อมเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ขั้นตอนนี้ควรมาพร้อมกับชื่อแบรนด์หรือบริษัท เลือกชื่อแบรนด์ที่สามารถตั้งเป็นชื่อเว็บไซต์ได้  หรือหากธุรกิจมีมานานก่อนหน้านี้แล้ว ก็ให้ใช้ชื่อนั้นแต่อาจเพิ่มคำที่บ่งบอกถึงสินค้าหรือบริการที่ขาย เช่น pinsandwichfranchise.com (ร้านขายอุปกรณ์แซนด์วิชพร้อมสูตรสำหรับแม่ค้าเปิดร้านขายได้เลย) หรือ pinmassageathome.com (บริการเครือข่ายหมอนวดเพื่อสุขภาพตามบ้านหรือสถานที่ที่ต้องการทั่วไทย)  8. ใช้ Social media เป็น ทุกวันนี้ คนทุกเพศทุกวัยใช้โซเชียลมีเดียกันเกือบเท่ากับจำนวนประชากรจริงๆ บนโลกนี้แล้ว โดยเฉพาะคนไทย WOW พบข้อมูลการใช้งานโซเชียลมีเดีย เมื่อต้นปี 2020 บางส่วนจากเว็บไซต์ Hootsuite ซึ่งมีสรุปใจความน่าสนใจว่า - ประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก อยู่ที่ 47 ล้านบัญชี (จากประชากรทั้งหมดเกือบ 70 ล้านคน) - คนไทยใช้งาน Instagram มากเป็นอันดับ 17 ของโลก อยู่ที่ 12 ล้านคน เพิ่มจากไตรมาสที่แล้ว 700,000 คน - คนไทยใช้งานทวิตเตอร์กว่า 6.6 ล้านบัญชี มากเป็นอันดับ 15 ของโลก  ข้อมูลนี้ชี้ว่า คนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมากและใช้กันหลายช่องทาง ดังนั้น การโฆษณาสินค้าหรือประชาสัมพันธ์แบรนด์ให้เป็นที่รับรู้บนโลกออนไลน์จึงควรมีโซเชียลมีเดียเป็นหนึ่งในเครื่องมือร่วมด้วย  แต่ควรใช้เพื่อสร้างการรับรู้สินค้าและแบรนด์เป็นหลักเพื่อพาลูกค้ามาสู่แพลตฟอร์มเว็บไซต์ของธุรกิจ เพื่อลดการพึ่งพาโซเชียลมีเดียด้วยในเวลาเดียวกัน  เพราะถึงแม้การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อธุรกิจจะเป็นเรื่องที่ดีและควรทำอย่างยิ่ง แต่แพลตฟอร์มออนไลน์ทุกอย่างมีแนวโน้มปรับระบบหรืออัลกอริทึ่ม (Algorithm) ตลอดเวลา โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียที่ปรับบ่อยและควบคุมได้ยากกว่าเว็บไซต์  เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ คือ การใช้โซเชียลมีเดียเหมือนการเช่าบ้านหรืออยู่บ้านคนอื่น ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการอะไรได้เต็มที่ ด้วยเหตุนี้แบรนด์ธุรกิจไม่น้อยจึงพยายามใช้วิธีโฆษณาบนโซเชียลฯ ดึงให้ลูกค้าเข้ามาชมเนื้อหาต่อบนเว็บไซต์ให้มากที่สุด  9. สร้างลิสต์ข้อมูลติดต่อลูกค้า เชื่อหรือไม่ว่า ธุรกิจที่ดำเนินการบนโลกออนไลน์จำนวนมาก ไม่สามารถใช้แค่ช่องทางโซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อลูกค้าจริงๆ แม้ทุกธุรกิจจะมีโซเชียลมีเดียของตัวเอง  เพราะแม้ช่องทางโซเชียลมีเดียจะมีระบบการยิงโฆษณาตามกลุ่มเป้าหมาย แต่สำหรับธุรกิจที่เป็นสินค้าราคาแพง มีมูลค่าในระยะยาว หรือต้องการรักษาฐานลูกค้าไว้ มักจะใช้อีเมลหรือไลน์มากกว่าหรืออย่างน้อยก็ใช้ไลน์ร่วมด้วย  เพราะ 2 ช่องทางนี้ อีเมลหรือไลน์ เป็นช่องทางที่ระบุตัวตนลูกค้าได้โดยตรงและสามารถทราบฟีดแบ็กของลูกค้าได้ชัดเจนมากกว่า รวมถึงตอบรับลูกค้าได้ไวมากกว่า  ธุรกิจที่อยากเติบโตออนไลน์จึงควรสร้างฐานข้อมูลลูกค้าเอาไว้ด้วย หากเป็นไปได้ยังต้องพยายามรักษาและหาข้อมูลกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ถ้ามีลูกค้า ก็จะมีรายได้ เมื่อมีรายได้เข้ามา ก็เท่ากับธุรกิจก็จะเติบโตนั่นเอง!  10. แผนบริการหรือต้อนรับลูกค้า เมื่อธุรกิจเข้าสู่โลกออนไลน์ นั่นหมายถึงจุดเริ่มต้นของลูกค้าหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ ธุรกิจที่ตั้งใจว่าจะทำการตลาดออนไลน์หรือมีบริษัทหน้าร้านของตัวเองในโลกอินเตอร์เน็ต จึงควรมีแผนจัดการการติดต่อของลูกค้าที่มาจากช่องทางออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการขายหรือสร้างความเข้าใจและความประทับใจต่อแบรนด์ธุรกิจที่นำไปสู่การซื้อ (conversion) ได้ในอนาคต  เช่น ข้อความตอบรับหรือเชิญชวนลูกค้าที่เข้าชมเว็บไซต์ เจ้าหน้าที่คอยตอบคำถามลูกค้าที่แชทเข้ามาในกล่องแชทภายในเว็บไซต์ เพจ Facebook, LINE OA ฯลฯ  การตอบอีเมลลูกค้า หรือแม้แต่การตอบคำถามหรือข้อสงสัยของลูกค้าบนเว็บกระทู้ เพจหรือกลุ่มอื่นๆ ในโซเชียลฯ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ก็ถือว่าเป็นการบริการลูกค้าที่ดีและไม่ควรละเลยด้วยเช่นกัน  11. ตัวเลือกสินค้า/บริการที่หลากหลาย ไม่มีธุรกิจใดบนโลกที่สามารถขายสินค้าชิ้นเดียวแล้วอยู่รอดหรือทำให้กิจการเติบโตได้ไปนานๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Apple ที่ต้องออก iPhone รุ่นใหม่ๆ มาทุกปี Microsoft ที่ไม่สามารถหยุดตัวเองไว้ที่แค่การขายซอฟต์แวร์ Windows แต่เลือกที่จะพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่ทันสมัยออกมาด้วย  เช่นกันกับธุรกิจของคุณ นับตั้งแต่วันที่เริ่มคิดทำธุรกิจ ต้องรู้ว่าจะพัฒนาตัวสินค้า สร้างมูลค่า หรือเพิ่มความหลากหลายไปในทางไหนได้อีก ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการมีทางพัฒนาไปได้ด้วยกันทั้งนั้น  หรือศึกษาแนวโน้มของผู้บริโภค หากไม่แน่ใจว่าจะต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปทางไหน หรือ ขายอะไรดีเช่น - สังคมที่จำนวนผู้สูงอายุจะมากขึ้น อัตราการเกิดน้อยลง - คนโสด คนมีคู่แต่ไม่แต่งงาน/ไม่มีพันธะ เยอะมากขึ้น - ความใส่ใจสุขภาพมากขึ้น - ความสนใจความรู้ทางการเงินมากขึ้น  12. โปรโมชั่นที่ได้ผลตอบแทนกลับมา ความจริงของโลกธุรกิจคือ ไม่มีการทำโปรโมชั่นใดที่ไม่หวังผลตอบแทน และการทำโปรโมชั่นกับการให้เป็นคนละเรื่องกัน การให้ที่ไม่หวังผลไม่ควรใช้กับการทำธุรกิจขายของ (แม้แต่การทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรหรือ CSR ก็ยังเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ไม่ใช่การให้เปล่า) กิจกรรมธุรกิจทุกอย่างล้วนมีค่าใช้จ่าย  ทุกครั้งที่ทำโปรโมชั่นจึงควรตั้งเป้าหรือวัตถุประสงค์ว่าทำเพื่ออะไร หวังผลเป็นอะไรและเท่าไหร่บ้าง โปรโมชั่นที่พบเห็นทั่วไป อาทิเช่น การแจกฟรี การซื้อ 1 แถม 1 หรือโปรโมชั่นตามเทศกาล มีเป้าหมายส่วนมาก ได้แก่ - การประชาสัมพันธ์บริษัทหรือสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จัก - การส่งเสริมการขาย - การขายสินค้าได้ปริมาณมากขึ้น - การกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ - การรักษากลุ่มลูกค้าเดิม - การสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

12 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเปิดตลาดออนไลน์


ในปัจจุบันนี้การแข่งขันทางด้านธุรกิจออนไลน์นั้นสูงมาก ใครๆ ก็อยากลงทุนเปิดธุรกิจเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น แต่การจะเปิดธุรกิจออนไลน์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โอกาสที่จะสำเร็จก็มีโอกาสจะผิดพลาดล้มเหลวก็ต้องมีเช่นกัน ส่วนใหญ่ที่ผิดพลาดล้มเหลวกันก็เกิดจากความไม่ศึกษาให้รอบคอบเสียก่อน และมีความใจร้อนอยากที่จะเปิดธุรกิจมากเกินไปจนลืมคำนึงถึงผลกระทบที่จะได้รับ วันนี้ เราจึงมีเรื่องที่ควรรู้ก่อนเริ่มเปิดตลาดออนไลน์ มาให้ทุกคนได้ศึกษาก่อนจะเริ่มเปิดธุรกิจกัน


สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มเปิดธุรกิจออนไลน์

1. การมีจุดขายที่แตกต่าง

เริ่มแรกสิ่งที่ทุกควรรู้ก่อนเริ่มเปิดธุรกิจนั้นก็คือ การหาจุดขายที่มีความแตกต่างจากผู้อื่น หรือบริการที่มีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำกับผู้อื่น ที่ยังสามารถแก้ปัญหา และสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้าได้ตรงจุด ซึ่งมีปัจจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวแปรสำคัญ ดังนั้นธุรกิจตั้งต้นใหม่ต้องสร้างจุดขายสินค้าให้แตกต่างจากคู่แข่ง (Product Differentiation) ต้องมี Concept ที่ชัดเจน สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน และสิ่งสำคัญคือ ต้องเริ่มจากสิ่งที่ถนัดหรือสนใจ เพราะการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอาจต้องใช้เวลา ใช้ความอดทนในการดำเนินธุรกิจไปสู่เป้าหมายจนเกิดความเชี่ยวชาญ


2. หากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

เมื่อเรานั้นได้มีการหาจุดขายที่แตกต่างกับผู้อื่นแล้วสิ่งที่เราต้องทำต่อมาเลยก็คือเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับ Concept ธุรกิจที่เราจะเปิด การที่เราได้ศึกษาว่าลูกค้านั้นสนใจในผลิตภัณฑ์อะไร หรือมีความชื่นชอบให้เรื่องใด มีพฤติกรรมอย่างไร สนใจในด้านใด คือลายแทงไปสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะการทำธุรกิจยุคนี้ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล


ในความรู้พื้นฐานที่เราต้องมีคือ เราศึกษาก่อนว่าของที่เราจะขายนั้นกำลังจะขายให้ใคร โดยจะมีความแตกต่างกับการทำธุรกิจแบบสมัยก่อนที่จะเน้นขายปริมาณที่มาก ขายให้คนทั่วไป (Mass Segmentation) ขณะที่การทำธุรกิจปัจจุบันเน้นการขายสินค้าหรือบริการเพื่อผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ไม่ผลิตเยอะ แต่เน้นสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า (Value Added) ที่สำคัญอาจไม่ต้องมีโรงงานผลิตเอง แต่ใช้การจ้างผลิต (OEM) ที่ประหยัดต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถมุ่งเน้นด้านการตลาด และสร้างแบรนด์ให้เกิดการรับรู้เจาะกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนยิ่งขึ้น


3. โฟกัสที่ลูกค้า เข้าใจตลาด

คนที่คิดจะเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ เกือบร้อยทั้งร้อย รู้อยู่แล้วว่าตัวเองอยากจะขายอะไร ดังนั้น โฟกัสที่ควรให้ความสนใจมากๆ จึงเป็น “ลูกค้า” ว่าคนเหล่านี้เป็นใคร ให้ใช้เวลาศึกษาลักษณะของเขาว่าอายุเท่าไหร่ เพศอะไร อาชีพอะไร มีความสนใจแบบไหน มีรายได้เฉลี่ยเท่าไหร่ ความถี่ในการซื้อสินค้า หรือข้อมูลต่างๆ ที่คิดว่ามีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของพวกเขา


จากนั้นต่อมาก็มาดูที่ “ตลาด” ว่าในตลาดที่คุณกำลังสนใจอยู่นี้ มีคู่แข่งอยู่มากน้อยแค่ไหน พวกเขาทำอะไร ขายยังไง ตั้งราคาที่เท่าไหร่ เพราะอะไร ตลาดนี้น่าลงไปเล่นด้วยไหม ฯลฯ ลิสต์รายชื่อ (ว่าที่) คู่แข่งของคุณออกมา และศึกษาไปทีละเจ้า วิธีการสืบที่ง่ายที่สุดก็คือ เว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของคู่แข่งนั่นเอง


ซึ่งหากใครยังนึกไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่าจะขายอะไร การมองไปที่กลุ่มคนซื้อหรือลูกค้าที่น่าสนใจก็เป็นวิธีการเริ่มต้นที่ไม่เลวเลยเช่นกัน


ข้อควรระวังคือ อย่าให้เวลาที่รายละเอียดยิบย่อยมากเกินไป เพราะจะทำให้เสียเวลาหรือโอกาสในการก้าวไปข้างหน้าหรือเริ่มต้นธุรกิจอย่างจริงจัง เรื่องบางเรื่องคุณสามารถไปเก็บตกเอาทีหลังได้


4. มีแผนธุรกิจ

คุณรู้แล้วว่าจะขายอะไร ลูกค้าเป็นใคร ตลาดหรือคู่แข่งเป็นอย่างไรแล้ว ให้นำข้อมูลทั้งหมดที่มีมาสร้างเป็นแผนการที่จะใช้ทำธุรกิจอย่างเป็นรูปเป็นร่าง เพราะการวางแผนธุรกิจเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของความสำเร็จ


แผนธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องหนาเป็นปึก 20 หน้ากระดาษ แต่ควรมีส่วนประกอบสำคัญอย่าง ขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน กรอบเวลาการทำงาน และตัวชี้วัดถึงความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อช่วยให้คุณมองเห็นเส้นทางการเดินหน้าของธุรกิจว่าอยู่ตรงไหนของแผนทั้งหมด หรือมีจุดไหนที่ต้องแก้ไขหรือช่องทางน่าสนใจทางอื่นให้ไปหรือไม่


5. รู้ระดับเงินทุนที่มี

เงินทุนหรือเงินลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ยิ่งตั้งเป้าธุรกิจไว้ใหญ่มากเท่าไหร่ ยิ่งต้องรู้รายละเอียดของเม็ดเงินทุนที่มีและการใช้เงินทุนมากขึ้นเท่านั้น เพราะมีโอกาสสูงมากที่ธุรกิจจะเงินทุนหมดก่อนที่จะเริ่มขายของรับเงินจากลูกค้า


โดยเฉพาะธุรกิจที่วางแผนว่าจะเติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจเหล่านี้ส่วนมากจะทดลองสินค้า ทดสอบตลาด และวิจัยหลายอย่างมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก ดังนั้นจึงควรรู้ว่า จะใช้ต้องลงทุนแบบยังไม่ได้เงินคืนในช่วงนี้ หรือภาษาธุรกิจเรียกว่า “เผาเงิน” ได้นานแค่ไหน หรือจะหาเงินทุนเพิ่มได้จากไหนหรืออย่างไรระหว่างช่วงเริ่มต้นนี้ด้วย


เรื่องนี้อาจจะฟังดูเหมือนไกลตัวหรือเลือนรางว่าจะไม่เกิดกับคุณ แต่ถ้าไม่นึกถึงมันเอาไว้เลย พอเกิดเหตุไม่คาดฝันเข้าจริงๆ ส่วนมากมักจะแก้ไขไม่ทัน กลายเป็นเรื่องพลาดอย่างน่าเสียดายไป


6. เห็นคุณค่าของสินค้าและบริการที่ขาย

ไม่ว่าคุณขายขนมห่อละ 20 บาท หรืออาหารพรีเมี่ยมกล่องละหลายพันบาท ถ้าตัดสินใจเลือกที่จะขาย คุณต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงคุณค่าและความจำเป็นของสินค้านั้น เพื่อโฆษณาถ่ายทอดให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเห็นภาพเดียวกับคุณให้ได้มากที่สุด หรือพูดแบบภาษาชาวบ้านว่า “อินเนอร์มันต้องได้” ไม่ว่าสิ่งที่ขายจะเป็นสินค้า/บริการที่จำเป็นหรือไม่ก็ตาม


นอกเหนือจากการเข้าใจรายละเอียดสินค้าจะดี เมื่อเจ้าของธุรกิจเข้าใจและสื่อสารออกไปได้ดีแล้ว ความรู้สึก “เชื่อ” ในตัวสินค้ายังเป็นพลังที่สำคัญเป็นพิเศษ ในช่วงการเริ่มต้นการขาย ที่ลูกค้าหรือคนทั่วไปยังไม่เคยได้เห็นสินค้าหรือสัมผัสกับบริการของคุณจริงๆ


สำหรับหลายธุรกิจ การมองเห็นถึงคุณค่ายังมีส่วนในการกำหนดราคาขายด้วย และส่วนมากเมื่อยิ่งเชิดชูคุณค่าก็ยิ่งอัพราคาให้สูงตามไปด้วย


7. เลือกชื่อที่ใช้เป็นชื่อเว็บไซต์ได้

เมื่อตัวธุรกิจมีรูปร่างชัดเจน ก็พร้อมเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ขั้นตอนนี้ควรมาพร้อมกับชื่อแบรนด์หรือบริษัท เลือกชื่อแบรนด์ที่สามารถตั้งเป็นชื่อเว็บไซต์ได้


หรือหากธุรกิจมีมานานก่อนหน้านี้แล้ว ก็ให้ใช้ชื่อนั้นแต่อาจเพิ่มคำที่บ่งบอกถึงสินค้าหรือบริการที่ขาย เช่น pinsandwichfranchise.com (ร้านขายอุปกรณ์แซนด์วิชพร้อมสูตรสำหรับแม่ค้าเปิดร้านขายได้เลย) หรือ pinmassageathome.com (บริการเครือข่ายหมอนวดเพื่อสุขภาพตามบ้านหรือสถานที่ที่ต้องการทั่วไทย)


8. ใช้ Social media เป็น

ทุกวันนี้ คนทุกเพศทุกวัยใช้โซเชียลมีเดียกันเกือบเท่ากับจำนวนประชากรจริงๆ บนโลกนี้แล้ว โดยเฉพาะคนไทย WOW พบข้อมูลการใช้งานโซเชียลมีเดีย เมื่อต้นปี 2020 บางส่วนจากเว็บไซต์ Hootsuite ซึ่งมีสรุปใจความน่าสนใจว่า

- ประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก อยู่ที่ 47 ล้านบัญชี (จากประชากรทั้งหมดเกือบ 70 ล้านคน)

- คนไทยใช้งาน Instagram มากเป็นอันดับ 17 ของโลก อยู่ที่ 12 ล้านคน เพิ่มจากไตรมาสที่แล้ว 700,000 คน

- คนไทยใช้งานทวิตเตอร์กว่า 6.6 ล้านบัญชี มากเป็นอันดับ 15 ของโลก


ข้อมูลนี้ชี้ว่า คนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมากและใช้กันหลายช่องทาง ดังนั้น การโฆษณาสินค้าหรือประชาสัมพันธ์แบรนด์ให้เป็นที่รับรู้บนโลกออนไลน์จึงควรมีโซเชียลมีเดียเป็นหนึ่งในเครื่องมือร่วมด้วย


แต่ควรใช้เพื่อสร้างการรับรู้สินค้าและแบรนด์เป็นหลักเพื่อพาลูกค้ามาสู่แพลตฟอร์มเว็บไซต์ของธุรกิจ เพื่อลดการพึ่งพาโซเชียลมีเดียด้วยในเวลาเดียวกัน


เพราะถึงแม้การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อธุรกิจจะเป็นเรื่องที่ดีและควรทำอย่างยิ่ง แต่แพลตฟอร์มออนไลน์ทุกอย่างมีแนวโน้มปรับระบบหรืออัลกอริทึ่ม (Algorithm) ตลอดเวลา โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียที่ปรับบ่อยและควบคุมได้ยากกว่าเว็บไซต์


เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ คือ การใช้โซเชียลมีเดียเหมือนการเช่าบ้านหรืออยู่บ้านคนอื่น ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการอะไรได้เต็มที่ ด้วยเหตุนี้แบรนด์ธุรกิจไม่น้อยจึงพยายามใช้วิธีโฆษณาบนโซเชียลฯ ดึงให้ลูกค้าเข้ามาชมเนื้อหาต่อบนเว็บไซต์ให้มากที่สุด


9. สร้างลิสต์ข้อมูลติดต่อลูกค้า

เชื่อหรือไม่ว่า ธุรกิจที่ดำเนินการบนโลกออนไลน์จำนวนมาก ไม่สามารถใช้แค่ช่องทางโซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อลูกค้าจริงๆ แม้ทุกธุรกิจจะมีโซเชียลมีเดียของตัวเอง


เพราะแม้ช่องทางโซเชียลมีเดียจะมีระบบการยิงโฆษณาตามกลุ่มเป้าหมาย แต่สำหรับธุรกิจที่เป็นสินค้าราคาแพง มีมูลค่าในระยะยาว หรือต้องการรักษาฐานลูกค้าไว้ มักจะใช้อีเมลหรือไลน์มากกว่าหรืออย่างน้อยก็ใช้ไลน์ร่วมด้วย


เพราะ 2 ช่องทางนี้ อีเมลหรือไลน์ เป็นช่องทางที่ระบุตัวตนลูกค้าได้โดยตรงและสามารถทราบฟีดแบ็กของลูกค้าได้ชัดเจนมากกว่า รวมถึงตอบรับลูกค้าได้ไวมากกว่า


ธุรกิจที่อยากเติบโตออนไลน์จึงควรสร้างฐานข้อมูลลูกค้าเอาไว้ด้วย หากเป็นไปได้ยังต้องพยายามรักษาและหาข้อมูลกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ถ้ามีลูกค้า ก็จะมีรายได้ เมื่อมีรายได้เข้ามา ก็เท่ากับธุรกิจก็จะเติบโตนั่นเอง!


10. แผนบริการหรือต้อนรับลูกค้า

เมื่อธุรกิจเข้าสู่โลกออนไลน์ นั่นหมายถึงจุดเริ่มต้นของลูกค้าหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ ธุรกิจที่ตั้งใจว่าจะทำการตลาดออนไลน์หรือมีบริษัทหน้าร้านของตัวเองในโลกอินเตอร์เน็ต จึงควรมีแผนจัดการการติดต่อของลูกค้าที่มาจากช่องทางออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการขายหรือสร้างความเข้าใจและความประทับใจต่อแบรนด์ธุรกิจที่นำไปสู่การซื้อ (conversion) ได้ในอนาคต


เช่น ข้อความตอบรับหรือเชิญชวนลูกค้าที่เข้าชมเว็บไซต์ เจ้าหน้าที่คอยตอบคำถามลูกค้าที่แชทเข้ามาในกล่องแชทภายในเว็บไซต์ เพจ Facebook, LINE OA ฯลฯ


การตอบอีเมลลูกค้า หรือแม้แต่การตอบคำถามหรือข้อสงสัยของลูกค้าบนเว็บกระทู้ เพจหรือกลุ่มอื่นๆ ในโซเชียลฯ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ก็ถือว่าเป็นการบริการลูกค้าที่ดีและไม่ควรละเลยด้วยเช่นกัน


11. ตัวเลือกสินค้า/บริการที่หลากหลาย

ไม่มีธุรกิจใดบนโลกที่สามารถขายสินค้าชิ้นเดียวแล้วอยู่รอดหรือทำให้กิจการเติบโตได้ไปนานๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Apple ที่ต้องออก iPhone รุ่นใหม่ๆ มาทุกปี Microsoft ที่ไม่สามารถหยุดตัวเองไว้ที่แค่การขายซอฟต์แวร์ Windows แต่เลือกที่จะพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่ทันสมัยออกมาด้วย


เช่นกันกับธุรกิจของคุณ นับตั้งแต่วันที่เริ่มคิดทำธุรกิจ ต้องรู้ว่าจะพัฒนาตัวสินค้า สร้างมูลค่า หรือเพิ่มความหลากหลายไปในทางไหนได้อีก ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการมีทางพัฒนาไปได้ด้วยกันทั้งนั้น


หรือศึกษาแนวโน้มของผู้บริโภค หากไม่แน่ใจว่าจะต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปทางไหน หรือ ขายอะไรดีเช่น

- สังคมที่จำนวนผู้สูงอายุจะมากขึ้น อัตราการเกิดน้อยลง

- คนโสด คนมีคู่แต่ไม่แต่งงาน/ไม่มีพันธะ เยอะมากขึ้น

- ความใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

- ความสนใจความรู้ทางการเงินมากขึ้น


12. โปรโมชั่นที่ได้ผลตอบแทนกลับมา

ความจริงของโลกธุรกิจคือ ไม่มีการทำโปรโมชั่นใดที่ไม่หวังผลตอบแทน และการทำโปรโมชั่นกับการให้เป็นคนละเรื่องกัน การให้ที่ไม่หวังผลไม่ควรใช้กับการทำธุรกิจขายของ (แม้แต่การทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรหรือ CSR ก็ยังเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ไม่ใช่การให้เปล่า) กิจกรรมธุรกิจทุกอย่างล้วนมีค่าใช้จ่าย


ทุกครั้งที่ทำโปรโมชั่นจึงควรตั้งเป้าหรือวัตถุประสงค์ว่าทำเพื่ออะไร หวังผลเป็นอะไรและเท่าไหร่บ้าง โปรโมชั่นที่พบเห็นทั่วไป อาทิเช่น การแจกฟรี การซื้อ 1 แถม 1 หรือโปรโมชั่นตามเทศกาล มีเป้าหมายส่วนมาก ได้แก่

- การประชาสัมพันธ์บริษัทหรือสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จัก

- การส่งเสริมการขาย

- การขายสินค้าได้ปริมาณมากขึ้น

- การกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ

- การรักษากลุ่มลูกค้าเดิม

- การสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 12 ครั้ง

コメント


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page