หลักการตลาดเบื้องต้น สำหรับนักธุรกิจมือใหม่✨

หลักการตลาดเบื้องต้น สำหรับนักธุรกิจมือใหม่✨
การตลาดก็คือหัวใจสำคัญของธุรกิจทุกชนิด อาจจะเป็นการทำโฆษณาแบบที่ทุกคนรู้จักกัน หรือเป็นการวิเคราะห์วิธีตั้งราคาให้ได้กำไรที่สุด นั่นก็เป็นเพราะว่าการตลาดนั้นครอบคลุมของทุกส่วนของธุรกิจ บทความนี้จะเป็นคู่มือการตลาดเบื้องต้น เหมาะสำหรับมือใหม่ ซึ่งในบทความจะพูดถึงพื้นฐานต่างๆ ที่คนทำธุรกิจมือใหม่ควรใส่ใจเรียนรู้ ว่ามีอะไรบ้าง
📍หน้าที่ของการตลาด
หน้าที่ของการตลาดก็คือการช่วยเหลือการขาย ผ่านการสร้างกลยุทธ์และเครื่องมือการตลาดต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การพิจารณาการแบ่งส่วนตลาด การเลือกกลุ่มเป้าหมาย และ การจัดตำแหน่งสินค้า โดยเบื้องต้นแล้ว การตลาดก็มีหน้าดีที่ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะการช่วยการขาย อย่างไรก็ตามหน้าที่นี้ก็สามารถถูกแบ่งออกมาเป็นรายละเอียดปลีกย่อยได้เช่นกัน
- Segmentation การแบ่งตลาด – คือการวิเคราะห์หาข้อมูลเพื่อแบ่งตลาดออกมาเป็นส่วนย่อยๆ โดยนักการตลาดสามารถแบ่งข้อมูลตลาดออกมาได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นตาม ประชากรศาสตร์ จิตวิทยา และ ภูมิศาสตร์ โดยการแบ่งตลาดที่ดี
- Targeting การเลือกกลุ่มเป้าหมาย – เป้าหมายของการเลือกกลุ่มเป้าหมาย ก็คือการเลือกตลาดที่อาจจะเล็กลงมาหน่อยแต่มีความชอบในผลิตภัณฑ์มากกว่าตลาดโดยรวม ทำให้ประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดในตลาดย่อยมีมากกว่า
- Positioning การจัดวางตำแหน่งตลาด – คือการวางจุดขายของสินค้าให้เหมาะกับความต้องการลูกค้า และวางแผนวิธีการสื่อสารจุดขายนี้ให้กับลูกค้าตามช่องทางต่างๆ
📍ความสำคัญของการตลาด
ในส่วนที่แล้ว เราดูไปแล้วว่าหน้าที่ของการตลาดมีอะไรบ้าง ซึ่งหากจะพูดให้เรียบง่าย การตลาดก็มีหน้าที่ในการเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัท อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของการเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายก็มีอยู่หลายอย่าง โดยนักการตลาดส่วนมากก็จะดูปัจจัยเหล่านี้
- การสื่อสาร – เป็นหัวใจที่พื้นฐานที่สุดของการตลาด เพราะการที่จะเริ่มทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับลูกค้าแล้วผู้บริโภค นักการตลาดก็ต้องเริ่มจากการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวก่อน โดยเฉพาะการสื่อสารจุดขายของสินค้า นอกเหนือจากนั้นการตลาดยังเป็นเครื่องมือในการสอนและให้ความรู้ลูกค้าได้ด้วย
- การขาย – การส่งเสริมการขาย เช่น การทำโฆษณา ซึ่งทำได้ผ่านการสื่อสารวิธีต่างๆอย่างสื่อพิมพ์ ภาพ และ วิดีโอ แต่เดิมทีนั้น สินค้าที่ดีก็จะขายตัวเองได้ผ่านการโฆษณาปากต่อปากของลูกค้า อย่างไรก็ตามในกรณีส่วนมาก หากองค์กรไม่ได้ทำการตลาดอะไรเลย โอกาสที่สินค้าจะขายได้ก็มีน้อยมาก
- การเติบโต – หมายถึงการทำโฆษณาเพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น เช่น การเพิ่มยอดขาย การเปิดตลาดใหม่ การเปิดตัวสินค้าใหม่ ซี่งการตลาดที่ดีต้องคำนึงถึงการสร้างลูกค้าใหม่และการรักษาลูกค้าเก่าให้กลับมาซื้อซ้ำด้วย
📍การตลาดพื้นฐานมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
องค์ประกอบของการตลาดพื้นฐานได้แก่ ราคา ผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการขาย และ ช่องทางจัดจำหน่าย ซึ่งทั้งสี่ปัจจัยนี้เป็นส่วนผสมการตลาดที่ต้องถูกออกแบบมาให้สอดคล้องเกื้อหนุนกัน และถูกสร้างให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า โดยเป้าหมายของส่วนผสมการตลาดก็คือการใช้เพื่อพิจารณาวางแผนกลยุทธ์การตลาด ซึ่งนักการตลาดสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆเพื่อส่งเสริมแผนการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการทำให้แตกต่างจากคู่แข่ง หรือการโน้มน้าวให้ลูกค้าอยากซื้อ
1. ส่วนผสมทางการตลาด 4P (Marketing Mix)
– Products and Service (สินค้า และบริการ) ถ้าคุณจะเริ่มต้นธุรกิจสิ่งแรกที่คุณควรให้ความสนใจก็คือ การทำให้สินค้า และบริการของคุณสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ แต่ความต้องการของลูกค้าก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นการทำธุรกิจของคุณจึงต้องมีการพัฒนาสินค้า และบริการอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการป้องกันการเลียนแบบของคู่แข่ง และทำให้ลูกค้าเห็นว่าสินค้าได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ หรือการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น และนี่คือสิ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มลูกค้านั้นเอง
- Price (ราคา) การตั้งราคาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะนั่นหมายถึงกำไรที่จะได้ในการขายแต่ละครั้ง การตั้งราคานั้นมีหลายวิธี ทั้งการตั้งราคาขายจากการบวกกำไรที่ต้องการกับราคาทุน การตั้งราคาขายแบบจิตวิทยา การตั้งราคาที่อิงคู่แข่งขัน และอีกหลายๆ กลยุทธ์สำหรับนักธุรกิจมือใหม่ แต่การตั้งราคาที่เป็นที่นิยมของหลายๆ ธุรกิจจะเป็นการตั้งราคาแบบใช้ต้นทุน + กำไรที่ต้องการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าวิธีนี้จะทำให้คุณได้กำไรอย่างล้นหลาม เพราะการตั้งราคานั้นยังมีอีกหลายปัจจัยที่คุณต้องคำนึงถึง นี่จึงเป็นเหตุผลที่นักธุรกิจมือใหม่ควรศึกษากลยุทธ์ด้านการตั้งราคาอย่างละเอียดก่อนลงมือทำธุรกิจ
– Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย) เมื่อคุณรู้แล้วว่าสินค้า และบริการแบบไหนที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า และมีการตั้งราคาที่เหมาะสมแล้ว ปัญหาต่อมาที่คุณต้องคำนึงถึงคือทำเลที่ตั้ง ที่คุณจะเลือกขายสินค้า และบริการของคุณ หากคุณเลือกขายสินค้าในซอยที่ไม่ค่อยมีผู้คนสัญจรผ่านไปมา การขายของคุณนั้นก็เป็นไปได้ยากลำบาก นอกจากการเลือกทำเลที่ตั้งแล้ว ช่องทางการจัดจำหน่ายยังต้องคำนึงถึง การขนส่ง สถานที่จัดเก็บสินค้าคงคลัง โดยสองส่วนนี้สามารถกระทบกับกำไรของคุณได้เช่นกัน
– Promotion (การส่งเสริมการตลาด) การส่งเสริมการตลาดนั้นทำขึ้นมาเพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น หรือเป็นการแนะนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด โดยการแจกตัวอย่างทดลอง การลดราคา การจัดโปรโมชั่นในโอกาสพิเศษต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ ที่จะทำให้เกิดความต้องการที่จะซื้อสินค้าของคุณ วิธีนี้อาจจะทำให้คุณได้กำไรน้อยลง แต่นี่ก็เป็นวิธีที่ดีสำหรับการขยายฐานลูกค้าของคุณแน่นอน
2. วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่นักธุรกิจมือใหม่ควรเรียนรู้ไว้ เพื่อให้ทราบถึงสถานะของผลิตภัณฑ์ว่ากำลังอยู่ในช่วงไหนของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับช่วงชีวิตผลิตภัณฑ์ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์นั้นจะมีทั้งหมด 4 ช่วงคือ
- ช่วงแนะนำ ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ทำกำไรได้น้อย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จัก และยังต้องทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณเข้าสู่ตลาด หรือเป็นจุดสนใจในกลุ่มของผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการซื้อสินค้า แต่ถ้าหากว่าผลิตภัณฑ์ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ก็จำเป็นจะต้องถูกถอดออกจากตลาด
- ช่วงเจริญเติบโตเต็มที่ เป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์สามารถทำกำไรสูง เนื่องจากยังไม่มีคู่แข่งมากนัก และผลิตภัณฑ์ก็ได้การตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี
- ช่วงอิ่มตัว ในช่วงนี้กำไรจะคงที่หรืออาจมีเพิ่มขึ้น หรือลดลงเล็กน้อย คู่แข่งเริ่มเพิ่มมากขึ้นทำให้การขยายตลาดของสินค้านั้นเริ่มเป็นไปได้ยาก ส่วนแบ่งทางการตลาดก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
- ช่วงถดถอย ช่วงนี้ผลิตภัณฑ์จะไม่สามารถทำกำไรได้แล้ว สาเหตุอาจมาจากการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงรสนิยม คู่แข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ที่จะทำให้สินค้านั้นๆ ล้นตลาด มีมากเกินความต้องการของผู้บริโภค และนี่ก็จะเป็นช่วงที่นักธุรกิจมือใหม่ต้องตัดสินใจว่าจะพัฒนาสินค้าต่อไป หรือจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเข้าสู่วงจรแรกอีกครั้ง
3. ผลกระทบทั้ง 5
การเรียนรู้เรื่องผลกระทบทั้ง 5 นั้นจะช่วยให้คุณสามารถนำไปใช้เป็นวิธีการวิเคราะห์คู่แข่งขัน วิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแข่งขัน และการวางกลยุทธ์สำหรับธุรกิจของคุณได้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเพิ่มความมั่นคงให้ธุรกิจของคุณ โดยผลกระทบทั้ง 5 นั้นก็คือ
- อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค
- อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์
- การคุกคามจากผู้แข่งขันรายใหม่
- การมาใหม่ของสินค้าทดแทน
- การแข่งขัน ของธุรกิจแบบเดียวกัน
4. การลดต้นทุน
สิ่งที่นักธุรกิจมือใหม่ ควรเรียนรู้อีกหนึ่งสิ่งก็คือการลดต้นทุน การทำธุรกิจนั้นจำเป็นจะต้องมีต้นทุนในหลายๆ ด้านอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนด้านการผลิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าขนส่ง ค่าจัดเก็บสินค้า และวิธีการลดต้นทุนนั้นก็ไม่ใช่การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาผลิตสินค้า เพื่อให้ต้นทุนด้านการผลิตลดลง การใช้วิธีนี้นอกจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคแล้ว ยังส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า และความน่าเชื่อถือในธุรกิจของคุณอีกด้วย การลดต้นทุนที่คุณควรทำคือการหาส่วนที่คุณสามารถลดลงได้ภายในธุรกิจของคุณ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้า และบริการของคุณ
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
>> https://www.chatstickmarket.com/langran
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
>>https://www.chatstickmarket.com/portfolio
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio