top of page

รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ คืออะไร❓


รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ คืออะไร❓  👉🏻รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ คือรายงานประเภทหนึ่งที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการขายสินค้ามีหน้าที่จัดทำ (มาตรา 87) ซึ่งมีการกำหนดรูปแบบให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งบางธุรกิจอาจจะใช้โปรแกรมบัญชีที่มีการจัดทำระบบสินค้าคงเหลือนี้ในตัวได้เลย ช่วยให้จัดการสต็อกถูกต้อง ตั้งแต่สินค้าจริง ยอดขาย สต็อกการ์ด รายงานต่างๆ  👉🏻กรณีที่บริษัทนับสินค้าคงเหลือแล้วพบว่า 1.สินค้าที่นับได้จริงน้อยกว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี – สินค้าขาดจากสต๊อก ( สินค้าขาดจากรายงานสินค้าคงเหลือ) 2.สินค้าที่นับได้จริงมากกว่ากว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี – สินค้าเกินจากสต๊อก ( สินค้าเกินจากรายงานสินค้าคงเหลือ)  👉🏻ทั้ง 2 กรณีมีภาระทางด้านภาษีอากรอย่างไร ผลกระทำทางภาษีอากร กรณีที่บริษัทฯ ตรวจนับสินค้าคงเหลือ 1. กรณีที่ตรวจพบว่า สินค้าที่นับได้จริงน้อยกว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี หรือ “สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ“ - กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีดังกล่าว ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก “มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร” ซึ่งตามมาตรา 78/3 แหงประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 กำหนดให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อบริษัทฯ ได้ “ตรวจพบ” ว่าสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบฯ ดังกล่าว  บริษัทฯ จึงต้องนำมูลค่าของสินค้าขาดจากรายงานไปรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีในเดือนภาษีที่ตรวจพบ เพื่อเสียภาษีขายในอัตราร้อยละ 7.0 ของมูลค่าสินค้าตามราคาตลาดตามมาตรา 79/3 แห่งประมวลรัษฎากร  นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังอาจต้องรับผิดระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 90 (15) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก “ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงาน โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร”  - กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล การที่สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นกรณีที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าขาดจากรายงานมาถือรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนำไปปรับปรุงในแบบ ภ.ง.ด.50 – เนื่องจากพิสูจน์ไม่ได้ว่าถูกโจรกรรม ถ้ามีหลักฐานชัดเจนจะสามารถบันทึกเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้  2. กรณีที่ตรวจพบว่า สินค้าที่นับได้จริงมากกว่ากว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี หรือ “สินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ“ - กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ อาจต้องรับผิดระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 90 (14) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก (14) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87  - กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่มีผลกระทบใดๆ ในกรณีนี้  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ คืออะไร❓


👉🏻รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ

รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ คือรายงานประเภทหนึ่งที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการขายสินค้ามีหน้าที่จัดทำ (มาตรา 87) ซึ่งมีการกำหนดรูปแบบให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งบางธุรกิจอาจจะใช้โปรแกรมบัญชีที่มีการจัดทำระบบสินค้าคงเหลือนี้ในตัวได้เลย ช่วยให้จัดการสต็อกถูกต้อง ตั้งแต่สินค้าจริง ยอดขาย สต็อกการ์ด รายงานต่างๆ


👉🏻กรณีที่บริษัทนับสินค้าคงเหลือแล้วพบว่า

1.สินค้าที่นับได้จริงน้อยกว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี – สินค้าขาดจากสต๊อก ( สินค้าขาดจากรายงานสินค้าคงเหลือ)

2.สินค้าที่นับได้จริงมากกว่ากว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี – สินค้าเกินจากสต๊อก ( สินค้าเกินจากรายงานสินค้าคงเหลือ)


👉🏻ทั้ง 2 กรณีมีภาระทางด้านภาษีอากรอย่างไร

ผลกระทำทางภาษีอากร กรณีที่บริษัทฯ ตรวจนับสินค้าคงเหลือ

1. กรณีที่ตรวจพบว่า สินค้าที่นับได้จริงน้อยกว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี หรือ “สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ“

- กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีดังกล่าว ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก “มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร” ซึ่งตามมาตรา 78/3 แหงประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 กำหนดให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อบริษัทฯ ได้ “ตรวจพบ” ว่าสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบฯ ดังกล่าว


บริษัทฯ จึงต้องนำมูลค่าของสินค้าขาดจากรายงานไปรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีในเดือนภาษีที่ตรวจพบ เพื่อเสียภาษีขายในอัตราร้อยละ 7.0 ของมูลค่าสินค้าตามราคาตลาดตามมาตรา 79/3 แห่งประมวลรัษฎากร


นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังอาจต้องรับผิดระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 90 (15) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก “ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงาน โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร”


- กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล

การที่สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นกรณีที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าขาดจากรายงานมาถือรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนำไปปรับปรุงในแบบ ภ.ง.ด.50 – เนื่องจากพิสูจน์ไม่ได้ว่าถูกโจรกรรม ถ้ามีหลักฐานชัดเจนจะสามารถบันทึกเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้


2. กรณีที่ตรวจพบว่า สินค้าที่นับได้จริงมากกว่ากว่ารายงานสินค้าคงเหลือในระบบบัญชี หรือ “สินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ“

- กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้า บริษัทฯ อาจต้องรับผิดระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 90 (14) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก (14) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87


- กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล

ไม่มีผลกระทบใดๆ ในกรณีนี้


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 321 ครั้ง

Comments


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page