top of page

สายไฟมีกี่ประเภท❓


สายไฟมีกี่ประเภท❓  การเลือกใช้ สายไฟ ให้เหมาะสมนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวผู้ใช้งานอย่างมาก เพราะการเลือกใช้สายไฟ โดยส่วนใหญ่จะต้องเป็นผู้ชำนาญการในการเลือกใช้ แต่ทั้งนี้ ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับสายไฟว่ามีกี่ชนิด และวิธีการเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย  📍สายไฟ สายไฟฟ้า คืออะไร? สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางในการนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสายไฟประกอบไปด้วย ตัวนำไฟฟ้า ซึ่งจะทำจากโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี และมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย เช่น ทองแดง และฉนวนไฟฟ้า ที่ใช้ในการหุ้มป้องกันไม่ให้ผู้ใช้กับสายโดยตรง และลดโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าด้วย  📍ประเภทของ สายไฟ มีแบบไหนบ้าง? 👉🏻สายไฟแรงดันต่ำ - สายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เกิน 750 โวลต์ (750V) - สายไฟนั้นทำด้วยทองแดง หรืออะลูมิเนียม แต่โดยทั่วไปจะเป็นสายทองแดง - สายขนาดเล็ก จะเป็นสายตัวนำเดี่ยว และสายขนาดใหญ่จะเป็นตัวนำตีเกลียว - ฉนวนที่ใช้งานจะเป็น PVC และ XLPE  🔹ชนิดของสายไฟแรงดันต่ำ 1. สายไฟชนิด THW สายไฟชนิด THW จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ รองรับแรงดันได้ 750V เป็นสายชนิดเดี่ยว มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากนำไปใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้ ซึ่งสายไฟชนิดนี้ ไม่เหมาะสำหรับการเดินฝังดินโดยตรง และเมื่อต้องการเดินลอยจะต้องยึดสายด้วย Insulator ด้วย   2. สายไฟชนิด VAF สายไฟชนิด VAF จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ สามารถทนแรงดันได้ 300V มีทั้งชนิดสายเดี่ยว สายคู่ และแบบสามสายที่รวมสายดินไปด้วย โดยที่แต่ละสายก็จะมีฉนวนหุ้ม และมีเปลือกหุ้มที่เป็นฉนวนอยู่อีกชั้นหนึ่งด้านนอก เป็นสายไฟชนิดที่นิยมในการเดินภายในบ้านทั่วไป แต่ไม่สามารถใช้งานในการติดตั้งไฟฟ้า 3 เฟสได้ เพราะไม่สามารถรองรับแรงดันที่ 380V ได้ ยกเว้นจะติดตั้งแบบแยกเป็นแบบ 1 เฟส และใช้แรงดัน 220V  3. สายไฟชนิด VCT สายไฟชนิด VCT จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ สามารถทนแรงดันได้ 750V ตัวสายมีลักษณะกลม มีทั้งชนิด 1 ,2 แกน, 3 แกน และ 4 แกน โดยจุดเด่นของสายชนิดนี้ คือ จะเป็นสายที่ประกอบด้วยสายทองแดงฝอยเส้นเล็ก ๆ จึงทำให้สายมีความอ่อนตัว และทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดี และยังเป็นสายที่สามารถต่อลงดินได้  4. สายไฟชนิด NYY สายไฟชนิด NYY เป็นสายไฟชนิดกลม ที่สามารถทนแรงดันได้ 750V มีทั้งแบบแกนเดียว และหลายแกน เป็นสายที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสายที่มีเปลือกหุ้มอีกชั้น จึงสามารถป้องกันความเสียหายทางกายภาพได้ดี โดยสายชนิดนี้ สามารถเดินฝังใต้ดินได้  👉🏻สายไฟแรงดันสูง - จะเป็นสายชนิดตีเกลียวที่มีขนาดใหญ่ - สายชนิดนี้ จะมีทั้งสายแบบทั้งแบบเปลือย และหุ้มฉนวน - สายไฟสามารถรับแรงดันได้ตั้งแต่ 1KV ~ 36KV  🔹ชนิดของสายไฟแรงดันสูง 1. สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมตีเกลียวชนิดเปลือย (AAC) เป็นสายที่ใช้ตัวนำเป็นอะลูมิเนียมพันตีเกลียวเป็นชั้น ๆ สายชนิดนี้ สามารถรับแรงดันได้ต่ำ จึงไม่สามารถขึงสายให้กับเสาที่มีระยะห่างมาก ๆ ได้ โดยทั่วไปจะไม่เกิน 50 เมตร ยกเว้นสายที่มีขนาด 95 มิลลิเมตร ขึ้นไปอาจจะขึงได้ถึง 100 เมตร  2. สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมชนิดผสม (AAAC) เป็นสายที่ผสมตัวนำจากหลายวัสดุ ทั้งอะลูมิเนียม, แมกนีเซียม และซิลิคอน ทำให้มีความเหนียว และแรงดันได้สูงกว่า สายอะลูมิเนียมล้วน ๆ ทำให้ขึงสายได้ในระยะห่างได้มากขึ้น และทนต่อการกัดกร่อนของไอเกลือได้ดี จึงนิยมใช้เดินสายในบริเวณชายทะเล  3. สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมชนิดแกนเหล็ก (ACSR) เป็นสายไฟที่ใช้ตัวน้ำเป็นอะลูมิเนียมตีเกลียว และมีสายเหล็กอยู่ตรงกลาง ทำให้สามารถรับแรงดึงได้สูงขึ้น ทำให้สามารถขยายระยะห่างระหว่างเสาในการขึงได้มากขึ้น แต่สายชนิดนี้ ไม่ทนต่อการกัดกร่อนของไอเกลือ จึงไม่ควรใช้งานบริเวณชายทะเล  4. สาย Partial Insulated Cable (PIC) เป็นสายไฟชนิดที่นำมาใช้แทนสายเปลือย เพราะสายเปลือยมีโอกาสที่ไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย โดยสายชนิดนี้ ประกอบด้วยตัวนำอะลูมิเนียมตีเกลียว แล้วหุ้มด้วยฉนวน XLPE แต่ถึงแม้ว่าสายนี้จะหุ้มฉนวนจริง แต่เป็นเพียงฉนวนที่ช่วยป้องกันการลัดวงจรเพียงเท่านั้น ห้ามสัมผัสโดยตรง  5. สาย Space Aerial Cable (SAC) เป็นสายไฟที่มีอะลูมิเนียมตีเกลียวเป็นตัวนำ และหุ้มด้วยฉนวน XLPE เช่นเดียวกันกับสายไฟชนิด PIC แต่จะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีความทนทานมากกว่าสายชนิด PIC แต่ถึงแม้ว่าจะหุ้มเปลือกอีกชั้น ก็ไม่ควรแตะต้องโดยตรงเช่นกัน แต่สายชนิดนี้ ก็สามารถวางใกล้กันได้มากกว่าสาย PIC  6. สาย Preassembiy Aerial Cable (PAC) เป็นสายไฟที่จัดเป็นสายชนิด Fully Insulated มีโครงสร้างใกล้เคียงกับสายไฟชนิด XLPE มีตัวนำเป็นอะลูมิเนียม มีความทนทานมาก เป็นสายที่วางใกล้กันได้ สามารถเดินผ่านอาคาร หรือบริเวณที่มีคนอาศัยอยู่ หรือวางพาดไปกับมุมตึกได้  7. สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE) เป็นสายที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน จัดเป็นสายชนิด Fully Insulated ที่มีส่วนประกอบหลายส่วน ดังนี้  - ตัวนำ : โดยส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงตีเกลียว ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของ Copper Concentric Strand หรือ Copper Compact Strand  - ชีลด์ของตัวนำ : ทำจากสารกึ่งตัวนึง ทำให้สนามไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับฉนวนกระจายได้อย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดการเกิด Breakdown  - ฉนวน : เป็นชั้นที่หุ้มห่อชั้นชีลด์ของตัวน้ำอีกชั้นหนึ่ง ทำด้วยฉนวน XLPE  - ชีลด์ของฉนวน : เป็นชั้นที่หุ้มทับชั้นของฉนวนอีกที และหุ้มด้วยชั้นของลวดทองแดง หรือเทปทองแดงอีกที เพื่อจำกัดสนามไฟฟ้าให้อยู่ภายในสายเคเบิ้ล ป้องกันการรบกวน และการต่อชีลด์ลงดินจะช่วยลดอันตรายจากการสัมผัสถูกสายเคเบิ้ลด้วย ทำให้การกระจายของแรงดันอย่างสม่ำเสมอ  - เปลือกนอก : โดยทั่วไปจะหุ้มด้วยพลาสติก PVC หรือ PE ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน โดยทั่วไปถ้าใช้งานกลางแจ้งจะใช้เป็น PVC ส่วน PE มักจะใช้กับการเดินลอย เพราะมีความทนทานต่อสภาพอากาศ และถ้าหากเดินใต้ดินอาจจะมีชั้นของ Service Tape อาจจะทำด้วยผ้า คั่นระหว่างชีลด์กับเปลือกนอก ช่วยป้องกันการเสียดสี และกระทบกระแทก  📍การเดินสายไฟฟ้า - เลือกว่าจ้างช่างเดินสายไฟฟ้าที่มีประสบการณ์สูงหรือช่างที่เคยผ่านการอบรมจากการไฟฟ้า  - หลีกเลี่ยงการมีจุดต่อสายไฟฟ้าเกินความจำเป็น หากมีการต่อสายก็ต้องเลือกใช้อุปกรณ์การต่อสายที่ถูกต้อง มั่นคงแข็งแรง  - สายไฟฟ้าที่ทะลุผ่านผนังหรือออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีฉนวนรองรับ เพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟฟ้าถูกบาดจนชำรุด  - สายไฟฉนวนสีดำ ใช้สำหรับสายไฟที่มีไฟ ส่วนสีเทาอ่อนหรือสีขาว ใช้สำหรับสายเส้นที่ไม่มีไฟ (สายศูนย์) สำหรับสีเขียวหรือสีเขียวสลับเหลือง ใช้สำหรับสายดิน  - อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน เช่น ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ รวมทั้งสวิตช์ปิด-เปิด ให้ต่อกับสายไฟฟ้าที่มีฉนวนสีดำ(เส้นที่มีไฟ) เท่านั้น และห้ามต่อฟิวส์ในสายเส้นที่ไม่มีไฟ (เส้นศูนย์) ในกรณีที่ใช้เบรกเกอร์หรือสวิตช์ ในเส้นศูนย์ด้วยต้องเป็นชนิดที่ตัดไฟหรือปลดสายไฟทุกเส้นออกพร้อมกัน (2 ขั้วพร้อมกัน)  - กรณีที่มีการต่อเติมเดินสายไฟบางส่วนแล้วพบว่า การเดินสายไฟเดิมทั้งบ้านใช้สีของสายๆ สลับกันกับมาตรฐานเหมือนกันทั้งหมด (เส้นที่มีไฟใช้สีขาว เส้นศูนย์ใช้สีดำ) หากไม่สามารถแก้ไขใหม่ได้ขอให้ใช้สายไฟระบบเดียวกันทั้งบ้าน แต่ต้องมีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตช์หรือเมนสวิตช์สำหรับช่างไฟ และเจ้าของบ้านทราบทุกครั้งที่มีการตรวจสอบด้วย  - กรณีของสายดิน ถ้าใช้สายดินเป็นเส้นเดี่ยวต้องมีฉนวนเป็นสีขาวและถ้าสายวงจรเดินในท่อโลหะต้องเดินสายดินในท่อเดียวกับสายวงจรด้วยห้ามเดินนอกท่อโลหะ  - สายไฟสายเดี่ยวที่เป็นฉนวนชั้นเดียวเช่น สาย THW. ไม่อนุญาตให้เดินสายโดยใช้เข็มขัดรัดสาย  - สายเมนที่มีขนาดต่ำกว่า 50 ตร.มม. ไม่ควรนำมาควบสาย  📍การตรวจสอบสายไฟฟ้า - ตรวจสอบการเดินสายไฟ ว่าใช้สีถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ (ใช้ไขควงล่อไฟ) หากไม่ถูกต้องเพียงบางจุดให้แก้ไข สลับสายใหม่ หากไม่ถูกต้องตลอดทั้งอาคารเหมือนกันหมดให้มีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตช์หรือตู้เมนสวิตช์ด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดภายหลัง  - ตรวจสอบจุดต่อสาย การเข้าสาย ต้องขันให้แน่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  - สังเกตอุณหภูมิของสาย โดยสัมผัสที่ผิวฉนวนของสาย ถ้ารู้สึกอุ่นหรือร้อนแสดงว่าผิดปกติ อาจเนื่องจากใช้ไฟเกินขนาดของสาย หรือมีจุดต่อสายต่างๆ ไม่แน่น เช่น ปลั๊กไฟ เต้ารับ สวิตช์ เป็นต้น  - สังเกตสีของเปลือกสาย ถ้าสายไฟบางเส้นมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือฝุ่นจับมาก แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติอาจมีไฟใช้เกินขนาดสายหรือมีการต่อสายไม่แน่น  - ฉนวนของสายไฟฟ้าต้องไม่มีการแตกกรอบ ไม่มีรอยไหม้ ชำรุด ถ้าพบควรหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุแล้วแก้ไขสาเหตุ พร้อมเปลี่ยนสายใหม่  - หมั่นตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อยโดยให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบสภาพไว้ทุกครั้ง  - กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่ ถ้าขนาดของสายไฟไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนใหม่  - ตรวจสอบสายไฟบริเวณที่ทะลุผ่านฝ้าเพดานหรือผนัง อาจมีรอยหนูแทะเปลือกของสายทำให้เกิดลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ได้  📍วิธีเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสม การเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับงานนับว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง โดยปกติช่างที่ผ่านการอบรมมาจะมีความรู้ในเรื่องการใช้สายไฟอยู่แล้ว แต่หากมีการซื้อสายไฟโดยให้คนที่ไม่มีความรู้ไปซื้ออาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ดังนั้นการเลือกใช้สายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับบ้านจึงมีข้อควรรู้  - เลือกใช้สายไฟที่ผ่านมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. นั่นเอง และเพื่อความปลอดภัยที่ใช้ในงานควรเลือกใช้สายไฟที่ได้รับมาตรฐาน และได้รับการยอมรับในระดับสากลดีที่สุด  - ต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าสายไฟแต่ละอย่างใช้งานไม่เหมือนกัน หากต้องการใช้สายไฟที่ใช้การตีกิ๊บเดินลอยในบ้านก็ต้องเลือกสายไฟให้ถูกลักษณะ แต่หากต้องการใช้สายไฟที่ใช้ในการร้อยท่อเป็นหลัก ก็ต้องเลือกใช้อีกแบบหนึ่ง แต่โดยปกติแล้วช่างจะเป็นคนแนะนำให้ หรือจะเป็นการเขียนสเปกแล้วให้เจ้าของบ้านเป็นคนไปซื้อมา เพื่อจะได้ไม่ซื้อผิด  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

สายไฟมีกี่ประเภท❓


การเลือกใช้ สายไฟ ให้เหมาะสมนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวผู้ใช้งานอย่างมาก เพราะการเลือกใช้สายไฟ โดยส่วนใหญ่จะต้องเป็นผู้ชำนาญการในการเลือกใช้ แต่ทั้งนี้ ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับสายไฟว่ามีกี่ชนิด และวิธีการเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย


📍สายไฟ สายไฟฟ้า คืออะไร?

สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางในการนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสายไฟประกอบไปด้วย ตัวนำไฟฟ้า ซึ่งจะทำจากโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี และมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย เช่น ทองแดง และฉนวนไฟฟ้า ที่ใช้ในการหุ้มป้องกันไม่ให้ผู้ใช้กับสายโดยตรง และลดโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าด้วย


📍ประเภทของ สายไฟ มีแบบไหนบ้าง?

👉🏻สายไฟแรงดันต่ำ

- สายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เกิน 750 โวลต์ (750V)

- สายไฟนั้นทำด้วยทองแดง หรืออะลูมิเนียม แต่โดยทั่วไปจะเป็นสายทองแดง

- สายขนาดเล็ก จะเป็นสายตัวนำเดี่ยว และสายขนาดใหญ่จะเป็นตัวนำตีเกลียว

- ฉนวนที่ใช้งานจะเป็น PVC และ XLPE


🔹ชนิดของสายไฟแรงดันต่ำ

1. สายไฟชนิด THW

สายไฟชนิด THW จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ รองรับแรงดันได้ 750V เป็นสายชนิดเดี่ยว มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากนำไปใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้ ซึ่งสายไฟชนิดนี้ ไม่เหมาะสำหรับการเดินฝังดินโดยตรง และเมื่อต้องการเดินลอยจะต้องยึดสายด้วย Insulator ด้วย

2. สายไฟชนิด VAF

สายไฟชนิด VAF จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ สามารถทนแรงดันได้ 300V มีทั้งชนิดสายเดี่ยว สายคู่ และแบบสามสายที่รวมสายดินไปด้วย โดยที่แต่ละสายก็จะมีฉนวนหุ้ม และมีเปลือกหุ้มที่เป็นฉนวนอยู่อีกชั้นหนึ่งด้านนอก เป็นสายไฟชนิดที่นิยมในการเดินภายในบ้านทั่วไป แต่ไม่สามารถใช้งานในการติดตั้งไฟฟ้า 3 เฟสได้ เพราะไม่สามารถรองรับแรงดันที่ 380V ได้ ยกเว้นจะติดตั้งแบบแยกเป็นแบบ 1 เฟส และใช้แรงดัน 220V


3. สายไฟชนิด VCT

สายไฟชนิด VCT จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ สามารถทนแรงดันได้ 750V ตัวสายมีลักษณะกลม มีทั้งชนิด 1 ,2 แกน, 3 แกน และ 4 แกน โดยจุดเด่นของสายชนิดนี้ คือ จะเป็นสายที่ประกอบด้วยสายทองแดงฝอยเส้นเล็ก ๆ จึงทำให้สายมีความอ่อนตัว และทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดี และยังเป็นสายที่สามารถต่อลงดินได้


4. สายไฟชนิด NYY

สายไฟชนิด NYY เป็นสายไฟชนิดกลม ที่สามารถทนแรงดันได้ 750V มีทั้งแบบแกนเดียว และหลายแกน เป็นสายที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสายที่มีเปลือกหุ้มอีกชั้น จึงสามารถป้องกันความเสียหายทางกายภาพได้ดี โดยสายชนิดนี้ สามารถเดินฝังใต้ดินได้


👉🏻สายไฟแรงดันสูง

- จะเป็นสายชนิดตีเกลียวที่มีขนาดใหญ่

- สายชนิดนี้ จะมีทั้งสายแบบทั้งแบบเปลือย และหุ้มฉนวน

- สายไฟสามารถรับแรงดันได้ตั้งแต่ 1KV ~ 36KV


🔹ชนิดของสายไฟแรงดันสูง

1. สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมตีเกลียวชนิดเปลือย (AAC)

เป็นสายที่ใช้ตัวนำเป็นอะลูมิเนียมพันตีเกลียวเป็นชั้น ๆ สายชนิดนี้ สามารถรับแรงดันได้ต่ำ จึงไม่สามารถขึงสายให้กับเสาที่มีระยะห่างมาก ๆ ได้ โดยทั่วไปจะไม่เกิน 50 เมตร ยกเว้นสายที่มีขนาด 95 มิลลิเมตร ขึ้นไปอาจจะขึงได้ถึง 100 เมตร


2. สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมชนิดผสม (AAAC)

เป็นสายที่ผสมตัวนำจากหลายวัสดุ ทั้งอะลูมิเนียม, แมกนีเซียม และซิลิคอน ทำให้มีความเหนียว และแรงดันได้สูงกว่า สายอะลูมิเนียมล้วน ๆ ทำให้ขึงสายได้ในระยะห่างได้มากขึ้น และทนต่อการกัดกร่อนของไอเกลือได้ดี จึงนิยมใช้เดินสายในบริเวณชายทะเล


3. สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมชนิดแกนเหล็ก (ACSR)

เป็นสายไฟที่ใช้ตัวน้ำเป็นอะลูมิเนียมตีเกลียว และมีสายเหล็กอยู่ตรงกลาง ทำให้สามารถรับแรงดึงได้สูงขึ้น ทำให้สามารถขยายระยะห่างระหว่างเสาในการขึงได้มากขึ้น แต่สายชนิดนี้ ไม่ทนต่อการกัดกร่อนของไอเกลือ จึงไม่ควรใช้งานบริเวณชายทะเล


4. สาย Partial Insulated Cable (PIC)

เป็นสายไฟชนิดที่นำมาใช้แทนสายเปลือย เพราะสายเปลือยมีโอกาสที่ไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย โดยสายชนิดนี้ ประกอบด้วยตัวนำอะลูมิเนียมตีเกลียว แล้วหุ้มด้วยฉนวน XLPE แต่ถึงแม้ว่าสายนี้จะหุ้มฉนวนจริง แต่เป็นเพียงฉนวนที่ช่วยป้องกันการลัดวงจรเพียงเท่านั้น ห้ามสัมผัสโดยตรง


5. สาย Space Aerial Cable (SAC)

เป็นสายไฟที่มีอะลูมิเนียมตีเกลียวเป็นตัวนำ และหุ้มด้วยฉนวน XLPE เช่นเดียวกันกับสายไฟชนิด PIC แต่จะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีความทนทานมากกว่าสายชนิด PIC แต่ถึงแม้ว่าจะหุ้มเปลือกอีกชั้น ก็ไม่ควรแตะต้องโดยตรงเช่นกัน แต่สายชนิดนี้ ก็สามารถวางใกล้กันได้มากกว่าสาย PIC


6. สาย Preassembiy Aerial Cable (PAC)

เป็นสายไฟที่จัดเป็นสายชนิด Fully Insulated มีโครงสร้างใกล้เคียงกับสายไฟชนิด XLPE มีตัวนำเป็นอะลูมิเนียม มีความทนทานมาก เป็นสายที่วางใกล้กันได้ สามารถเดินผ่านอาคาร หรือบริเวณที่มีคนอาศัยอยู่ หรือวางพาดไปกับมุมตึกได้


7. สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)

เป็นสายที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน จัดเป็นสายชนิด Fully Insulated ที่มีส่วนประกอบหลายส่วน ดังนี้


- ตัวนำ : โดยส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงตีเกลียว ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของ Copper Concentric Strand หรือ Copper Compact Strand


- ชีลด์ของตัวนำ : ทำจากสารกึ่งตัวนึง ทำให้สนามไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับฉนวนกระจายได้อย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดการเกิด Breakdown


- ฉนวน : เป็นชั้นที่หุ้มห่อชั้นชีลด์ของตัวน้ำอีกชั้นหนึ่ง ทำด้วยฉนวน XLPE


- ชีลด์ของฉนวน : เป็นชั้นที่หุ้มทับชั้นของฉนวนอีกที และหุ้มด้วยชั้นของลวดทองแดง หรือเทปทองแดงอีกที เพื่อจำกัดสนามไฟฟ้าให้อยู่ภายในสายเคเบิ้ล ป้องกันการรบกวน และการต่อชีลด์ลงดินจะช่วยลดอันตรายจากการสัมผัสถูกสายเคเบิ้ลด้วย ทำให้การกระจายของแรงดันอย่างสม่ำเสมอ


- เปลือกนอก : โดยทั่วไปจะหุ้มด้วยพลาสติก PVC หรือ PE ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน โดยทั่วไปถ้าใช้งานกลางแจ้งจะใช้เป็น PVC ส่วน PE มักจะใช้กับการเดินลอย เพราะมีความทนทานต่อสภาพอากาศ และถ้าหากเดินใต้ดินอาจจะมีชั้นของ Service Tape อาจจะทำด้วยผ้า คั่นระหว่างชีลด์กับเปลือกนอก ช่วยป้องกันการเสียดสี และกระทบกระแทก


📍การเดินสายไฟฟ้า

- เลือกว่าจ้างช่างเดินสายไฟฟ้าที่มีประสบการณ์สูงหรือช่างที่เคยผ่านการอบรมจากการไฟฟ้า


- หลีกเลี่ยงการมีจุดต่อสายไฟฟ้าเกินความจำเป็น หากมีการต่อสายก็ต้องเลือกใช้อุปกรณ์การต่อสายที่ถูกต้อง มั่นคงแข็งแรง


- สายไฟฟ้าที่ทะลุผ่านผนังหรือออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีฉนวนรองรับ เพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟฟ้าถูกบาดจนชำรุด


- สายไฟฉนวนสีดำ ใช้สำหรับสายไฟที่มีไฟ ส่วนสีเทาอ่อนหรือสีขาว ใช้สำหรับสายเส้นที่ไม่มีไฟ (สายศูนย์) สำหรับสีเขียวหรือสีเขียวสลับเหลือง ใช้สำหรับสายดิน


- อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน เช่น ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ รวมทั้งสวิตช์ปิด-เปิด ให้ต่อกับสายไฟฟ้าที่มีฉนวนสีดำ(เส้นที่มีไฟ) เท่านั้น และห้ามต่อฟิวส์ในสายเส้นที่ไม่มีไฟ (เส้นศูนย์) ในกรณีที่ใช้เบรกเกอร์หรือสวิตช์ ในเส้นศูนย์ด้วยต้องเป็นชนิดที่ตัดไฟหรือปลดสายไฟทุกเส้นออกพร้อมกัน (2 ขั้วพร้อมกัน)


- กรณีที่มีการต่อเติมเดินสายไฟบางส่วนแล้วพบว่า การเดินสายไฟเดิมทั้งบ้านใช้สีของสายๆ สลับกันกับมาตรฐานเหมือนกันทั้งหมด (เส้นที่มีไฟใช้สีขาว เส้นศูนย์ใช้สีดำ) หากไม่สามารถแก้ไขใหม่ได้ขอให้ใช้สายไฟระบบเดียวกันทั้งบ้าน แต่ต้องมีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตช์หรือเมนสวิตช์สำหรับช่างไฟ และเจ้าของบ้านทราบทุกครั้งที่มีการตรวจสอบด้วย


- กรณีของสายดิน ถ้าใช้สายดินเป็นเส้นเดี่ยวต้องมีฉนวนเป็นสีขาวและถ้าสายวงจรเดินในท่อโลหะต้องเดินสายดินในท่อเดียวกับสายวงจรด้วยห้ามเดินนอกท่อโลหะ


- สายไฟสายเดี่ยวที่เป็นฉนวนชั้นเดียวเช่น สาย THW. ไม่อนุญาตให้เดินสายโดยใช้เข็มขัดรัดสาย


- สายเมนที่มีขนาดต่ำกว่า 50 ตร.มม. ไม่ควรนำมาควบสาย


📍การตรวจสอบสายไฟฟ้า

- ตรวจสอบการเดินสายไฟ ว่าใช้สีถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ (ใช้ไขควงล่อไฟ) หากไม่ถูกต้องเพียงบางจุดให้แก้ไข สลับสายใหม่ หากไม่ถูกต้องตลอดทั้งอาคารเหมือนกันหมดให้มีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตช์หรือตู้เมนสวิตช์ด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดภายหลัง


- ตรวจสอบจุดต่อสาย การเข้าสาย ต้องขันให้แน่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


- สังเกตอุณหภูมิของสาย โดยสัมผัสที่ผิวฉนวนของสาย ถ้ารู้สึกอุ่นหรือร้อนแสดงว่าผิดปกติ อาจเนื่องจากใช้ไฟเกินขนาดของสาย หรือมีจุดต่อสายต่างๆ ไม่แน่น เช่น ปลั๊กไฟ เต้ารับ สวิตช์ เป็นต้น


- สังเกตสีของเปลือกสาย ถ้าสายไฟบางเส้นมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือฝุ่นจับมาก แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติอาจมีไฟใช้เกินขนาดสายหรือมีการต่อสายไม่แน่น


- ฉนวนของสายไฟฟ้าต้องไม่มีการแตกกรอบ ไม่มีรอยไหม้ ชำรุด ถ้าพบควรหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุแล้วแก้ไขสาเหตุ พร้อมเปลี่ยนสายใหม่


- หมั่นตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อยโดยให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบสภาพไว้ทุกครั้ง


- กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่ ถ้าขนาดของสายไฟไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนใหม่


- ตรวจสอบสายไฟบริเวณที่ทะลุผ่านฝ้าเพดานหรือผนัง อาจมีรอยหนูแทะเปลือกของสายทำให้เกิดลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ได้


📍วิธีเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสม

การเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับงานนับว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง โดยปกติช่างที่ผ่านการอบรมมาจะมีความรู้ในเรื่องการใช้สายไฟอยู่แล้ว แต่หากมีการซื้อสายไฟโดยให้คนที่ไม่มีความรู้ไปซื้ออาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ดังนั้นการเลือกใช้สายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับบ้านจึงมีข้อควรรู้


- เลือกใช้สายไฟที่ผ่านมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. นั่นเอง และเพื่อความปลอดภัยที่ใช้ในงานควรเลือกใช้สายไฟที่ได้รับมาตรฐาน และได้รับการยอมรับในระดับสากลดีที่สุด


- ต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าสายไฟแต่ละอย่างใช้งานไม่เหมือนกัน หากต้องการใช้สายไฟที่ใช้การตีกิ๊บเดินลอยในบ้านก็ต้องเลือกสายไฟให้ถูกลักษณะ แต่หากต้องการใช้สายไฟที่ใช้ในการร้อยท่อเป็นหลัก ก็ต้องเลือกใช้อีกแบบหนึ่ง แต่โดยปกติแล้วช่างจะเป็นคนแนะนำให้ หรือจะเป็นการเขียนสเปกแล้วให้เจ้าของบ้านเป็นคนไปซื้อมา เพื่อจะได้ไม่ซื้อผิด


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

>> https://www.chatstickmarket.com/langran

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 577 ครั้ง

Mga Komento


CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page