top of page

📣ข้อแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี


📣ข้อแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี  📍ค่าใช้จ่ายคืออะไร  ค่าใช้จ่ายในทางธุรกิจคือ เงินที่เรานำไปชำระสินค้า หรือบริการ เพื่อนำมาใช้ในกิจการ การจัดการค่าใช้จ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจมากๆ เพราะเกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัท  กำไรสุทธิ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย  ถ้าเราสมมติให้รายได้ของบริษัทเป็นตัวคงที่ ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นตัวผันแปร หากค่าใช้จ่ายสูง กำไรสุทธิก็จะต่ำในทางตรงกันข้าม ถ้าค่าใช้จ่ายต่ำ ก็จะทำให้กำไรสุทธิสูง         ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะมองว่า ค่าใช้จ่ายทุกรายการที่บริษัทจ่ายออกไปสามารถนำไป หัก รายได้ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้  📍ค่าใช้จ่ายทางบัญชี หมายถึงค่าใช้จ่ายที่บริษัทจ่ายออกไปเป็นค่าสินค้า หรือบริการ ที่มีหลักฐานการจ่ายเงินถูกต้อง เช่น จ่ายซื้อสินค้าเพื่อนำมาขาย ค่าใช้จ่ายนี้จะถือเป็นต้นทุนขาย จ่ายค่าบริการทำบัญชี ค่าใช้จ่ายนี้จะถือเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน  📍ค่าใช้จ่ายทางภาษี คือรายจ่ายที่ไม่เข้าเงื่อนไขรายจ่ายต้องห้าม ค่าใช้จ่ายทางภาษี VS รายจ่ายต้องห้าม ค่าใช้จ่ายทางภาษี  หมายถือ ค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ในการคำนวนกำไรสุทธิทางภาษี  VS  รายจ่ายต้องห้าม  หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคลและได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการ แต่ในทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย หรือไม่ถือเป็น ค่าใช้จ่ายทางภาษี ในการคำนวณกำไรสุทธิ ขอบเขตรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร  ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง ค่าใช้จ่ายทางภาษี 3 ประเภทยอดฮิตดังนี้  👉🏻ค่าใช้จ่าย หรือรายจ่าย ที่ทางผู้รับไม่มีเอกสารหรือหลักฐานให้ หรือมีแต่ไม่ชัดเจน รายจ่ายที่ไม่มีบิล หากพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายจริงเกี่ยวข้องกับกิจการ ก็ย่อมสามารถนำมาหักเป็นรายจ่าย ไม่ว่ารายจ่ายดังกล่าวจะผิดหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นหรือไม่ก็ตาม เช่น เงินใต้โต๊ะ เป็นต้น  👉🏻ค่าส่งเสริมการขาย กรณีการส่งเสริมการขาย (ลด แลก แจก แถม) จะมีภาระภาษีหลัก ๆ มาเกี่ยวข้อง 3 กรณี ดังนี้ 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล อำนาจในการประเมินรายรับกรณีมีการจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าฯ โดยไม่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด ม. 65 ทวิ (4)  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม   VAT – อำนาจในการประเมินรายรับเพิ่มกรณีผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงมูลค่าฐานภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง ม. 88/2 (3) , (4) – การให้ส่วนลดที่จะลดฐานภาษีต้องเป็นกรณีส่วนลดการค้า (Trade Discount) ม. 79 (1) – การยกเว้นภาษีขายต้องเป็นการแถมพร้อมขายและมูลค่าของแถมไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขาย และการแจกของขวัญของชำร่วยสินค้า  	ตัวอย่าง ประกาศ Vat#40 และ #55  3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – การประกวดแข่งขันชิงโชคต้องหัก ณ ที่จ่าย 5% ทป.4/2528 (ข้อ 9 (1)) – การจ่ายเงินรางวัลเพื่อการส่งเสริมการขาย ต้องหัก ณ ที่จ่าย 3% ทป.4/2528 (ข้อ 12/2)  👉🏻ค่ารับรอง การจ่ายค่ารับรองหรือบริการ  ทุกครั้งต้องมีการอนุมัติค่ารับรอง  โดยกรรมการ (กรณีจดทะเบียนเป็นบริษัท) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ  (จดทะเบียนเป็น หจก. หสน.) หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว  และควรระบุผู้ได้รับการรับรองไว้ในเอกสารขออนุมัติค่ารับรองและที่สำคัญการรับรองจะต้องเป็นไปตามหลักฐานที่กฏหมายกำหนดดังนี้  ค่ารับรองสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 143 ดังต่อไปนี้  1. เป็นค่ารับรองตามธรรมเนียมประเพณีทาง ธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด(หจก.) เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น – กิจการจ่ายเงินรับรองคนของตัวเองไม่ได้  ผู้ที่รับการรับรองจะเป็นลูกค้าบริษัทก็ได้ หรือเป็นบุคคลอื่นที่เช่น เจ้าหน้าที่ตรวจ ISO เจ้าหน้าที่จัดส่งเอกสารไปรษณีย์ / Kerry เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะแบ่งค่าใช้จ่ายเป็นดังนี้ - ค่ารับรอง ลูกค้า  – ค่าใช้จ่ายในการขาย - ค่ารับรอง เจ้าหน้าที่ / บุคคลอื่นๆ ที่เพื่อประโยชน์ของกิจการ – ค่าใช้จ่ายในการบริหาร  2. เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง โดยตรงกับค่ารับรอง เช่น อาหารเครื่องดื่ม ที่พัก ฯลฯ  – มูลค่าตามสมควร เหมาะสม ชี้แจงได้  ถ้าให้เป็นสิ่งของ ต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรองเป็นสิ่งของจะต้องไม่เกิน 2,000 แต่ถ้าเป็นอาหารไม่จำกัดราคาแต่ต้องไม่เกินสมควร   ในกรณีที่เกินจะต้องเป็นการบวกกลับรายการทั้งก้อน  ค่ากระเช้างานปีใหม่ – เป็นค่ารับรองไม่ควรเกิน 2,000 บาท เพราะถ้าเกินอาจเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทั้งก้อน ถ้าลูกค้าขอความอนุเคราะห์ของเพื่อจัดฉลากปีใหม่ ซื้อของให้ลูกค้าต้องนำส่ง VAT หรือไม่ ตามความหมายของกรมสรรพากร ยกเว้นแต่ สิ่งของที่ให้ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งได้แก่ สมุดไดอารี ปฎิทิน ซึ่งต้องมีตรายี่ห้อเราประทับไปด้วย   ถ้าเราแจกไมโครเวฟลูกค้า 10 เครื่อง  เราต้องนำส่ง VAT ขาย ตามราคาตลาด เช่น เราซื้อมา 107 บาท เพื่อเคลม VAT ซื้อ และเมื่อนำไปแจกลูกค้าเราควร นำส่งภาษีขาย เกินกว่า 107 เช่น ฐานภาษีนำส่ง VAT 115 บาท เป็นราคาที่รวมกำไรไว้ด้วย เพราะเรามีค่าใช้จ่าย    กรณีถ้าลูกค้าจ่าย เงินสำหรับ VAT เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า แต่ถ้าเราเป็นผู้จ่าย ภาษีซื้อเองเพราะเรียกเก็บไม่ได้ เราไม่ต้องออกใบกำกับภาษีขาย แต่ให้บันทึกยอดในรายงานภาษีขายเพื่อนำส่งภาษีขาย วิธีแก้ปัญหา คือ  แจกเงินในซองเขียนว่าเงินสำหรับซื้อไมโครเวฟ  นอกจานี้  ภาษีขายที่ บริษัทฯ จ่ายไปแทนลูกค้านี้ในทางปฏิบัติ กรมสรรพากรตีความว่า เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือเป็น “ภาษีมูลค่าเพิ่มที่พึงต้องชำระ” บริษัทฯ จึงไม่สามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เนื่องจากภาษีขายเป็นภาษีที่ลูกค้าต้องเป็นผู้จ่าย หากกิจการจ่ายแทน อาจถูกมองว่าเป็นการให้โดยเสน่หา เลือกปฏิบัติเฉพาะบุคคลดังนั้น จึงเข้าข่ายค่าใช้จ่ายต้องห้าม  3. เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ – จ่ายเพื่อประโยชน์กิจการ เพื่องานรายได้ของกิจการ  4. จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท  เทียบมูลค่าค่ารับรอง 0.3% * รายได้ก่อนหักรายจ่าย กับ 0.3% ของทุนที่ได้รับชำระแล้ว(กิจการได้เงินจริง) อันไหนมากกว่าเอายอดนั้น แต่ต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนเกินเป็นรายจ่ายต้องห้าม  5. ค่ารับรองนั้นต้องมีกรรมการ หรือผู้ที่เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือเป็นค่าบริการเว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร  ----------------------------------------------------------------------------------- สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด  | รับสร้างแบรนด์  | รับทำการตลาดออนไลน์  | รับทำแผนการตลาดออนไลน์  | รับสร้างแบรนด์  | รับดูแล Facebook แฟนเพจ  | รับดูแล LINE OA    สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง   รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์ >> https://www.chatstickmarket.com/langran  ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้ >>https://www.chatstickmarket.com/portfolio  ------------------------------------------------------------------------------------  💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙 📱Tel : 0840104252 📱0947805680 สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์) 📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH  ┏━━━━━━━━━┓ 📲 LINE: @chatstick ┗━━━━━━━━━┛ หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM  🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran  🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

📣ข้อแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี


📍ค่าใช้จ่ายคืออะไร

ค่าใช้จ่ายในทางธุรกิจคือ เงินที่เรานำไปชำระสินค้า หรือบริการ เพื่อนำมาใช้ในกิจการ การจัดการค่าใช้จ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจมากๆ เพราะเกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัท


กำไรสุทธิ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย


ถ้าเราสมมติให้รายได้ของบริษัทเป็นตัวคงที่ ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นตัวผันแปร หากค่าใช้จ่ายสูง กำไรสุทธิก็จะต่ำในทางตรงกันข้าม ถ้าค่าใช้จ่ายต่ำ ก็จะทำให้กำไรสุทธิสูง


ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะมองว่า ค่าใช้จ่ายทุกรายการที่บริษัทจ่ายออกไปสามารถนำไป หัก รายได้ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้


📍ค่าใช้จ่ายทางบัญชี

หมายถึงค่าใช้จ่ายที่บริษัทจ่ายออกไปเป็นค่าสินค้า หรือบริการ ที่มีหลักฐานการจ่ายเงินถูกต้อง เช่น จ่ายซื้อสินค้าเพื่อนำมาขาย ค่าใช้จ่ายนี้จะถือเป็นต้นทุนขาย จ่ายค่าบริการทำบัญชี ค่าใช้จ่ายนี้จะถือเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน


📍ค่าใช้จ่ายทางภาษี คือรายจ่ายที่ไม่เข้าเงื่อนไขรายจ่ายต้องห้าม

ค่าใช้จ่ายทางภาษี VS รายจ่ายต้องห้าม ค่าใช้จ่ายทางภาษี หมายถือ ค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ในการคำนวนกำไรสุทธิทางภาษี VS รายจ่ายต้องห้าม หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคลและได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการ แต่ในทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย หรือไม่ถือเป็น ค่าใช้จ่ายทางภาษี ในการคำนวณกำไรสุทธิ ขอบเขตรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร


ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง ค่าใช้จ่ายทางภาษี 3 ประเภทยอดฮิตดังนี้


👉🏻ค่าใช้จ่าย หรือรายจ่าย ที่ทางผู้รับไม่มีเอกสารหรือหลักฐานให้ หรือมีแต่ไม่ชัดเจน

รายจ่ายที่ไม่มีบิล หากพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายจริงเกี่ยวข้องกับกิจการ ก็ย่อมสามารถนำมาหักเป็นรายจ่าย ไม่ว่ารายจ่ายดังกล่าวจะผิดหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นหรือไม่ก็ตาม เช่น เงินใต้โต๊ะ เป็นต้น


👉🏻ค่าส่งเสริมการขาย

กรณีการส่งเสริมการขาย (ลด แลก แจก แถม) จะมีภาระภาษีหลัก ๆ มาเกี่ยวข้อง 3 กรณี ดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล อำนาจในการประเมินรายรับกรณีมีการจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าฯ โดยไม่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด ม. 65 ทวิ (4)


2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

– อำนาจในการประเมินรายรับเพิ่มกรณีผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงมูลค่าฐานภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง ม. 88/2 (3) , (4)

– การให้ส่วนลดที่จะลดฐานภาษีต้องเป็นกรณีส่วนลดการค้า (Trade Discount) ม. 79 (1)

– การยกเว้นภาษีขายต้องเป็นการแถมพร้อมขายและมูลค่าของแถมไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขาย และการแจกของขวัญของชำร่วยสินค้า ตัวอย่าง ประกาศ Vat#40 และ #55


3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

– การประกวดแข่งขันชิงโชคต้องหัก ณ ที่จ่าย 5% ทป.4/2528 (ข้อ 9 (1))

– การจ่ายเงินรางวัลเพื่อการส่งเสริมการขาย ต้องหัก ณ ที่จ่าย 3% ทป.4/2528 (ข้อ 12/2)


👉🏻ค่ารับรอง

การจ่ายค่ารับรองหรือบริการ ทุกครั้งต้องมีการอนุมัติค่ารับรอง โดยกรรมการ (กรณีจดทะเบียนเป็นบริษัท) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (จดทะเบียนเป็น หจก. หสน.) หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว และควรระบุผู้ได้รับการรับรองไว้ในเอกสารขออนุมัติค่ารับรองและที่สำคัญการรับรองจะต้องเป็นไปตามหลักฐานที่กฏหมายกำหนดดังนี้


ค่ารับรองสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 143 ดังต่อไปนี้


1. เป็นค่ารับรองตามธรรมเนียมประเพณีทาง ธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด(หจก.) เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น – กิจการจ่ายเงินรับรองคนของตัวเองไม่ได้


ผู้ที่รับการรับรองจะเป็นลูกค้าบริษัทก็ได้ หรือเป็นบุคคลอื่นที่เช่น เจ้าหน้าที่ตรวจ ISO เจ้าหน้าที่จัดส่งเอกสารไปรษณีย์ / Kerry เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะแบ่งค่าใช้จ่ายเป็นดังนี้

- ค่ารับรอง ลูกค้า – ค่าใช้จ่ายในการขาย

- ค่ารับรอง เจ้าหน้าที่ / บุคคลอื่นๆ ที่เพื่อประโยชน์ของกิจการ – ค่าใช้จ่ายในการบริหาร


2. เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง โดยตรงกับค่ารับรอง เช่น อาหารเครื่องดื่ม ที่พัก ฯลฯ – มูลค่าตามสมควร เหมาะสม ชี้แจงได้


ถ้าให้เป็นสิ่งของ ต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรองเป็นสิ่งของจะต้องไม่เกิน 2,000 แต่ถ้าเป็นอาหารไม่จำกัดราคาแต่ต้องไม่เกินสมควร ในกรณีที่เกินจะต้องเป็นการบวกกลับรายการทั้งก้อน


ค่ากระเช้างานปีใหม่ – เป็นค่ารับรองไม่ควรเกิน 2,000 บาท เพราะถ้าเกินอาจเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทั้งก้อน ถ้าลูกค้าขอความอนุเคราะห์ของเพื่อจัดฉลากปีใหม่ ซื้อของให้ลูกค้าต้องนำส่ง VAT หรือไม่ ตามความหมายของกรมสรรพากร ยกเว้นแต่ สิ่งของที่ให้ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งได้แก่ สมุดไดอารี ปฎิทิน ซึ่งต้องมีตรายี่ห้อเราประทับไปด้วย


ถ้าเราแจกไมโครเวฟลูกค้า 10 เครื่อง เราต้องนำส่ง VAT ขาย ตามราคาตลาด เช่น เราซื้อมา 107 บาท เพื่อเคลม VAT ซื้อ และเมื่อนำไปแจกลูกค้าเราควร นำส่งภาษีขาย เกินกว่า 107 เช่น ฐานภาษีนำส่ง VAT 115 บาท เป็นราคาที่รวมกำไรไว้ด้วย เพราะเรามีค่าใช้จ่าย


กรณีถ้าลูกค้าจ่าย เงินสำหรับ VAT เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า แต่ถ้าเราเป็นผู้จ่าย ภาษีซื้อเองเพราะเรียกเก็บไม่ได้ เราไม่ต้องออกใบกำกับภาษีขาย แต่ให้บันทึกยอดในรายงานภาษีขายเพื่อนำส่งภาษีขาย วิธีแก้ปัญหา คือ แจกเงินในซองเขียนว่าเงินสำหรับซื้อไมโครเวฟ


นอกจานี้ ภาษีขายที่ บริษัทฯ จ่ายไปแทนลูกค้านี้ในทางปฏิบัติ กรมสรรพากรตีความว่า เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือเป็น “ภาษีมูลค่าเพิ่มที่พึงต้องชำระ” บริษัทฯ จึงไม่สามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เนื่องจากภาษีขายเป็นภาษีที่ลูกค้าต้องเป็นผู้จ่าย หากกิจการจ่ายแทน อาจถูกมองว่าเป็นการให้โดยเสน่หา เลือกปฏิบัติเฉพาะบุคคลดังนั้น จึงเข้าข่ายค่าใช้จ่ายต้องห้าม


3. เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ – จ่ายเพื่อประโยชน์กิจการ เพื่องานรายได้ของกิจการ


4. จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท


เทียบมูลค่าค่ารับรอง 0.3% * รายได้ก่อนหักรายจ่าย กับ 0.3% ของทุนที่ได้รับชำระแล้ว(กิจการได้เงินจริง) อันไหนมากกว่าเอายอดนั้น แต่ต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนเกินเป็นรายจ่ายต้องห้าม


5. ค่ารับรองนั้นต้องมีกรรมการ หรือผู้ที่เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือเป็นค่าบริการเว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร


-----------------------------------------------------------------------------------

สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์

ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้

------------------------------------------------------------------------------------


💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙

📱Tel : 0840104252 📱0947805680

สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)

┏━━━━━━━━━┓

📲 LINE: @chatstick

┗━━━━━━━━━┛

หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM

🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran

🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio

แท็ก:

ดู 73 ครั้ง
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม2_2.png
CS_Redesign_คอนเทนต์เดิม3.png
Recent Posts
c24f0332fa3b87f8a304140403b893510_64100212_210625.jpg
244712625_300456528129611_2152723951836713111_n.jpg
5.png
4.png
Button Event สติกเกอร์.png
2.png
Button ChatStick Market.png
bottom of page