ภาษีทางตรง VS ภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรง VS ภาษีทางอ้อม
“ภาษี” คำที่ทุกคนต้องเคยได้ยินกัน แต่ภาษีนั้นคืออะไรกันแน่ และภาษีมีกี่ประเภท แล้วแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร
📌ภาษีคืออะไร
ภาษี คือ เงินหรือทรัพย์สินที่รัฐหรือหน่วยงานรัฐเรียกเก็บจากประชาชนในประเทศ ภาษีจะเก็บทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งภาษีที่เก็บได้นั้นจะใช้ในการบริหารประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างสาธารณูปโภค การศึกษา ค่าเงินเดือนของข้าราชการ เป็นต้น
📌แล้วภาษีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ภาษีที่เรียกเก็บกับประชาชนในประเทศจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม
📌แล้วภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมคืออะไร และต่างกันอย่างไรบ้าง
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่จัดเก็บแบบเจาะจงอย่างชัดเจนว่าต้องการเก็บกับใครหรือองค์กรใด โดยภาษีทางตรงก็แบ่งย่อยออกมาได้ ดังนี้
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บโดยตรงกับบุคคลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกรมสรรพากรจะเป็นหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีประเภทนี้
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บโดยตรงกับผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยกำหนดอัตราภาษีสูงสุดไม่เกินร้อยละ 20
- ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ที่มาจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า
- ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยภาษี ประเภทเป็นภาษีที่มาแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งภาษีประเภทนี้จะจัดเก็บในช่วงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี โดยมีวิธีการคำนวณภาษีดังนี้
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์ - มูลค่ายกเว้น) x อัตราภาษี
- ภาษีมรดก คือ ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดก เมื่อมีการโอนทรัพย์สิน
- ภาษีทรัพย์สินต่าง ๆ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีรถยนต์
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่จัดเก็บแบบไม่เจาะจงว่าต้องการเก็บกับใคร โดยภาษีทางอ้อมก็แบ่งย่อยออกมาได้ ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่รู้จักกันในชื่อ VAT คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อหรือใช้สินค้าและบริการภายในประเทศ โดยได้กำหนดอัตราภาษีเอาไว้ที่ร้อยละ 7 และ 1 ใน 9 ที่เก็บได้จะแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะ โดยกิจการที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ ได้แก่ 1. ธนาคาร 2. ธุรกิจเงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ 3. ประกันชีวิต 4. การรับจำนำ 5. กิจการที่คล้ายกับธนาคารพาณิชย์ 6. ขายอสังหาริมทรัพย์ 7. ขายหลักทรัพย์ 8. กิจการอื่น ๆ
- อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการทำตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์กำหนด ซึ่งลักษณะของอากรแสตมป์จะจัดพิมพ์คล้ายกับตราไปรษณียากร ต่างกันตรงที่อากรแสตมป์ไม่มีตราประทับ แต่จะใช้การขีดฆ่าแสดงการใช้แทน
จากภาษีทั้งหมดที่ได้กล่าวข้างต้นหลายคนอาจมองว่าประชาชนต้องเสียภาษีเสมอ แล้วถ้ามีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทางรัฐบาลจะมีมาตรการใดที่ช่วยประชาชนไหม คำตอบคือมี รัฐบาลจะมีการลดหย่อนภาษีใน หลาย ๆ ประเภท เช่น ประกันสุขภาพลดหย่อนภษี การซื้อกองทุน เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------
สนใจบริการดูแลการตลาดออนไลน์ | ทำการตลาดออนไลน์ | ทำกราฟฟิคครบวงจร | สามารถติดต่อเราได้ตลอด | รับสร้างแบรนด์ | รับทำการตลาดออนไลน์ | รับทำแผนการตลาดออนไลน์ | รับสร้างแบรนด์ | รับดูแล Facebook แฟนเพจ | รับดูแล LINE OA สามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดบริการดูแลการตลาดออนไลน์
>> https://www.chatstickmarket.com/langran
ตัวอย่าง ผลงานแบรนด์ต่างๆ ที่เราดูแลการตลาดออนไลน์ให้
>> https://www.chatstickmarket.com/portfolio
------------------------------------------------------------------------------------
💙ปรึกษาทีมงานของเรา💙
📱Tel : 0840104252 📱0947805680
สายด่วนออฟฟิศ : 034-900-165 , 02-297-0811 (จันทร์-ศุกร์)
📨 Inbox : http://m.me/ChatStick.TH
┏━━━━━━━━━┓
📲 LINE: @chatstick
┗━━━━━━━━━┛
หรือคลิ๊ก https://goo.gl/KuzCpM
🎉รายละเอียดที่ http://www.chatstickmarket.com/langran
🎉ชมผลงานเราได้ที่ https://www.chatstickmarket.com/portfolio